ข้ามไปเนื้อหา

การถ่ายอุจจาระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กายวิภาคทวารหนักและไส้ตรง

การถ่ายอุจจาระเป็นขั้นสุดท้ายของการย่อยอาหาร โดยสิ่งมีชีวิตกำจัดของเสียทั้งที่เป็นของแข็ง กึ่งแข็งกึ่งเหลวหรือของเหลวจากทางเดินอาหารโดยทางทวารหนัก

มนุษย์ขับถ่ายอุจจาระมีความถี่แปรผันตั้งแต่วันละหลายครั้งจนถึงไม่กี่ครั้งต่อสัปดาห์[1] หากมากกว่านั้นเรียกว่า "อาการท้องผูก" แต่ถ้าหากถ่ายเหลวและบ่อยครั้งภายในวันเดียวเรียกว่า "อาการท้องเสีย"

มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชายล้วนต้องขับถ่ายอุจจาระเพื่อดำรงชีวิตอยู่ต่อ สัตว์ส่วนมากที่มีระบบย่อยอาหารก็เช่นกัน

ระลอกการหดตัวของกล้ามเนื้อ (เรียกว่า การบีบรูด) ในผนังของลำไส้ใหญ่เคลื่อนอุจจาระผ่านทางเดินอาหารสู่ไส้ตรง อาหารที่ไม่ถูกย่อยอาจถูกขับออกด้วยวิธีนี้ด้วย กระบวนการดังกล่าวเรียก egestion

เมื่ออุจจาระเคลื่อนที่ผ่านลำไส้มันสามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อในผนังลำไส้หดตัวซึ่งจะช่วยให้อุจจาระเคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น แต่ก็สามารถทำให้รู้สึกไม่สบายท้องซึ่งอาจเป็นสัญญาณกระตุ้นให้เตรียมพร้อมสำหรับการถ่ายอุจจาระ

อ้างอิง[แก้]

  1. "A description of Normal Bowel Movements". 30 September 2013. สืบค้นเมื่อ 29 November 2013.