คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
Rangsit Business School
สัญลักษณ์คณะบริหารธุรกิจ
สถาปนาพ.ศ. 2529
คณบดีผศ.ดร.รุจาภา แพ่งเกษร
ที่อยู่
อาคารประสิทธิรัตน์ (ตึก 2) ชั้น 2
มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก
ถนนเอกประจิม ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
สี███ สีฟ้า
มาสคอต
เรือสำเภา
เว็บไซต์https://rbs.rsu.ac.th/

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต หรือ (อังกฤษ: Rangsit Business School) เป็นคณะที่ใหญ่ เก่าแก่ที่สุดและมีจำนวนนักศึกษาในคณะมากที่สุดของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2529 ในนามวิทยาลัยรังสิต

ปีการศึกษา 2529 คณะบริหารธุรกิจตั้งขึ้นพร้อมการก่อตั้งวิทยาลัยรังสิต และดำเนินการเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก โดยมีสาขาวิชาทั้งหมด 6 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินการธนาคาร สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการตลาดและ สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรม ซึ่งทุกสาขาวิชาจะใช้ชื่อปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิตได้มีการปรับระบบการศึกษาจากระบบทวิภาคให้เป็นแบบไตรภาค คณะบริหารธุรกิจจึงได้ทำการปรับปรุง หลักสูตรในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และหมวดอื่น ๆ พร้อมทั้งปรับเพิ่มจำนวนหน่วยกิตในรายวิชาต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบใหม่ นอกจากนี้คณะบริหารธุรกิจได้ทำการเปลี่ยนชื่อสาขาวิชา จาก“สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ” เป็น “สาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์” และ“สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรม” เป็น “การจัดการอุตสาหกรรม” และยังขอเปิดดำเนินการหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี เพิ่มอีก 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาการตลาด

1 มิถุนายน 2532 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตทั้ง 6 สาขาวิชา ได้รับรองมาตรฐานการศึกษาโดยทบวงมหาวิทยาลัย

31 กรกฎาคม 2533 วิทยาลัยรังสิตได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยรังสิต

ปีการศึกษา 2538 สาขาวิชาการบัญชีได้รับการอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยทำการเปลี่ยนชื่อปริญญาจากบริหารธุรกิจบัณฑิต เป็น บัญชีบัณฑิต

ปีการศึกษา 2538 คณะบริหารธุรกิจได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรบัญชีบัณฑิต 1 หลักสูตรและบริหารธุรกิจบัณฑิต 5 หลักสูตร

ปีการศึกษา 2539 เริ่มใช้หลักสูตรใหม่ทั้ง 6 หลักสูตรที่มีการปรับปรุง

กุมภาพันธ์ 2541คณะบริหารธุรกิจได้ทำเรื่องขอประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการการศึกษาฯ ทั้ง 6 สาขาวิชา โดยมีหลักสูตรที่ ได้รับการรับรองมาตรฐานแล้ว และผ่านการประเมินคุณภาพ 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชีและ สาขา วิชาการบริหารอุตสาหกรรม

ปีการศึกษา 2541 คณะบริหารธุรกิจได้ขอเปิดดำเนินการหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี จำนวน 4 สาขา คือ สาขาวิชาการบัญชี การจัดการ การบริหารอุตสาหกรรมและขอเปิดดำเนินการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพิ่มอีก 1 หลักสูตร นอกจากนั้นคณะบริหารธุรกิจยังขอเปิดดำเนินการ หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาคือ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต โดยเปิดเป็นระบบไตรภาค และเริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 3/2541 เป็นต้นมา

ปีการศึกษา 2543 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ได้รับการรับรองมาตรฐานศึกษา

ปีการศึกษา 2546 คณะบัญชีได้แยกออกจากคณะบริหารธุรกิจ โดยรับผิดชอบดูแลหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

ปีการศึกษา 2547 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยมากขึ้นและ ยังมีการเปลี่ยนให้เป็นระบบทวิภาคอีกด้วย โดยจะเริ่มใช้กับนักศึกษาปีการศึกษา 2548 นอกจากนั้น คณะบริหารธุรกิจ ได้ขอเปิดดำเนินการหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรการจัดการ มหาบัณฑิต สาขา วิชาการเป็นผู้ประกอบการโดยจะเริ่มรับนักศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1/2548 มีการสอนที่ศูนย์ศึกษาวิภาวดี นอกจากนั้น หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตอีก 4 สาขาวิชา คือสาขา วิชาการจัดการ การเงินการธนาคาร การตลาด และระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ยังได้การรับรอง การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา จากคณะกรรมการการอุดมศึกษาอีกด้วย

หลักสูตร[แก้]

ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (B.B.A.)

  • สาขาวิชาการจัดการ (MGT)
  • สาขาวิชาการเงินและการลงทุน (FIN)
  • สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล (DBS)
  • สาขาวิชาการตลาดดิจิทัลและนวัตกรรมค้าปลีก (DMR)
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเซน (LSM)
  • สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ (IBA)
  • สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ (ETP)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.)

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (Twilight M.B.A.)
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (Executive M.B.A.)

หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (M.M.)

  • สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (D.B.A.)