ฉบับร่าง:บ้านแม่ตั๋ง-ดอยคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายดาวเทียมแม่ตั๋ง-ดอยคำ ที่มา : www.google.com/maps

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

  • พิกัด : 17.421669335486186, 99.14661765777635
  • ที่อยู่ : บ้านแม่ตั๋ง หมู่ 3 , บ้านดอยคำ หมู่ 7 ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง 52180
  • คำขวัญ : "ลำธารน้ำตก มรดกล้ำค่า อารามงามสง่า นำพาชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง"

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน[แก้]

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2435 มีราษฏรส่วนหนึ่งของหมู่บ้านน้ำดิบ อ.เถิน ได้อพยพบริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งข้างแม่น้ำวัง ตามฤดูการต่างๆในแต่ละปี ซึ่งสมัยก่อนนั้นการเดินทางมาที่แห่งนี้จะใช้การเดินเท้าเป็นส่วนใหญ่ ใช้เวลาเดินทางเป็นระยะเวลานานและลำบาก ภายหลังจึงมีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานปลูกบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในบริเวณแถบนี้ โดยเริ่มแรกมีจำนวน 5 ครัวเรือน ต่อมาได้มีอาการอพยพมาเพิ่มขยายเพิ่มขึ้นเป็น 20 ครัวเรือน ทางการจึงได้ตัง้ให้เป็นหมู่บ้านหนึ่งของ ต.น้ำดิบ อ.เถิน (ในสมัยนั้น) ชื่่อว่า "บ้านแม่ตั๋ง"

สถานที่ภายในหมู่บ้าน[แก้]

วิหารพระเจ้าทันใจ

วัดแม่ตั๋ง สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ 2435 ชาวบ้านซึ่งเป็นชาวพุทธได้มีมติที่จะสร้างวัดเพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญบุญทำทานต่างๆ เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจตามวิธีของชาวพุทธ โดยแรกเริ่มนั้นมี "ครูบาอุตม์" เป็นผู้นำศรัทธาญาติโยมบุกเบิกแผ้วถางก่อสร้างเป็นที่พักสงฆ์ ต่อมาเมื่อราว พ.ศ. 2440 ชาวบ้านได้กราบอาราธนา "ครูบาอินทนนท์" จากวัดน้ำดิบ ตำบลน้ำดิบ อำเภอเถิน มาเป็นผู้นำก่อสร้างวัดและได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ปัจจุบันมี พระครูปัญญาวโรดม เป็นเจ้าอาวาสวัด

อาคารเรียน ร.ร.บ้านแม่ตั๋ง

โรงเรียนบ้านแม่ตั๋ง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2481 เดิมชื่อว่า "โรงเรียนประชาบาลตำบลน้ำดิบ" เปิดสอนตามหลักสูตรของกระทรวงธรรมการ มีนายเปี้ย มงคลกาวิล เป็นครูใหญ่(คนแรก) ปัจจุบันโรงเรียนบ้านแม่ตั๋งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีพื้นที่ ๑๐ ไร่ ๓ งาน มีอาคารเรียน ๓ หลัง เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น อนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนายนพพล สุยะทา เป็นรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน

น้ำตกแม่ตั๋ง (วังผา)

น้ำตกแม่ตั๋ง เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากใบไม้ที่หล่นลงมาทับถมและไหลไปตามน้ำจนไปติดรวมกันอยู่บริเวณหนึ่ง และพอเวลาผ่านไปจากใบไม้ที่ไหลมารวมกันก็กลายเป็นชั้นหินเล็กๆขึ้นมา ซึ่งแหล่งน้ำของน้ำตกสายนี้ เกิดจากมีตาน้ำที่ผุดขึ้นมาจากดินทรายบริเวณต้นน้ำของน้ำตก และไหลรวมกันจนเกิดเป็นแหล่งน้ำลำธารขนาดเล็ก โดยแหล่งน้ำนี้จะไหลตลอดและไม่มีวันแห้ง แม้แต่ช่วงฤดูร้อนในช่วงเดือนเมษายนก็ยังมีน้ำไหลตลอด ซึงชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำสายนี้มากมาย และยังเป็นแหล่งพักผ่อนในวันที่อากาศร้อนเป็นอย่างดี

ผู้นำชุมชน[แก้]

บ้านแม่ตั๋ง

  • ว่าที่ ร.ต. อาทิตย์ ปั่นโย ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านแม่ตั๋ง ตั้งแต่ปี 2564 - ปัจจุบัน
  • นายนนธวัฒน์ ปัญญาอุด ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแม่ตั๋ง ตั้งแต่ปี 2564 - ปัจจุบัน
  • นางภาสินี จิ๋วอ่อน ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแม่ตั๋ง ตั้งแต่ปี 2564 - ปัจจุบัน

บ้านดอยคำ

  • นางพวงพันธ์ บุญทา ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านดอยคำ ตั้งแต่ปี 2566 - ปัจจุบัน
  • นายมนตรี สุวรรณรัตน์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านดอยคำ ตั้งแต่ปี 2566 - ปัจจุบัน
  • นางสมพร ปุกแก้ว ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านดอยคำ ตั้งแต่ปี 2566 - ปัจจุบัน

    ***ข้อมูล ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567***

กิจกรรมภายในชุมชน[แก้]

  • ทำบุญตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้งในช่วงวันขึ้นปีใหม่ เป็นการทำบุญในช่วงวันขึ้นปีใหม่ โดยพระภิกษุสงฆ์จะเดินออกรับบิณฑบาตร มาตามถนนสาย น้ำตกแม่ตั๋ง ถึง หน้าวัดแม่ตั๋ง โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกๆปี
  • ประเพณีตานข้าวจี่ข้าวหลาม จัดขึ้นที่วัดแม่ตั๋ง ในช่วงเดือน 4 เหนือ หรือประมาณช่วงเดือนมกราคม จะจัดขึ้นในวันพระ (8 ค่ำ , 15 ค่ำ) ในช่วงเดือน 4 เหนือ โดยก่อนวันตานข้าวจี่ข้าวหลาม 1 วัน ในตอนเช้าชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะเตรียมวัตถุดิบในการทำทำข้าวหลาม และเผาข้าวหลามกันในตอนช่วงบ่ายหรือช่วงเย็น เพื่อที่จะนำไปถวายทานเพื่ออุทิศไปให้แก่ญาติพี่น้องหรือบรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในช่วงเช้าวันทำบุญที่วัด
  • ประเพณีปีใหม่เมือง จัดขึ้นในช่วงวันสงกรานต์ 13-15 เมษายน ในทุกๆปี ซึ่งในช่วง 3 วันนี้หมู่บ้านแม่ตั๋ง-ดอยคำ จะมีกิจกรรมต่างหลายอย่างๆ ไม่ว่าจะเป็น "ทำบุญสืบชะตา , บูชาเทียนลดเคราห์ , รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ , ขนทรายเข้าวัด , แห่ต้นดอก , สรงน้ำพระ , ตานตุง 12 ราษี" เป็นต้น
  • ส่งเคราะห์บ้าน เป็นพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่โบราณ โดยจะมีพิธีในช่วงหลังสงกรานต์ หรือที่ชาวล้านนาเรียกว่า "วันปากปี" โดยถือว่าเป็นวันเริ่มต้นวันแรกของปีใหม่คนเมือง โดยจะมีอาจารย์วัดเป็นผู้นำประกอบพิธี ซึ่งตามความเชื่อคือ จะเป็นการไล่สิ่งอัปมงคลภายในบ้านให้ออกไป เพื่อให้คนภายในบ้านอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
  • ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ จะเป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นก่อนฤดูทำนา โดยในช่วงเช้าจะมีพิธีทำบุญ ฟังธรรม และสืบชะตา โดยจะมีการจัดพิธีที่ในต้นน้ำ และหลังจากเสร็จพิธีจะมีการจุดบั้งไฟถวายเพื่อขอฝน และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวนาก่อนหว่านกล้า ไถดำ
  • บวชป่าชุมชน เป็นกิจกรรมในชุมชนที่จัดขึ้นในทุกๆปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้คงอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป
  • ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาแสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า "ก๋วยสลาก" โดยในก๋วยสลากจะประกอบด้วย อาหารแห้ง ผลไม้ และสิ่งของใช้ต่างๆ

ป่าชุมชน[แก้]

แผนที่ป่าชุมชนบ้านแม่ตั๋ง (แปลง1-2) ที่มา : https://forestinfo.forest.go.th

ข้อมูลทั่วไป

  • ชื่อป่าชุมชน : ป่าชุมชนบ้านแม่ตั๋ง (แปลงที่ 1-2)
  • ปีที่เริ่มโครงการ : 2547
  • ที่ตั้ง : ต.พระบาทวังตวง อ.แม่พริก จ.ลำปาง
  • เนื้อที่ : 2003 ไร่ 0 งาน 0 ตารางวา
  • ประเภทป่า : ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่วะ จ.ลำปาง
  • สถาพทั่วไป : เป็นที่ราบเชิงเขา
  • หมู่บ้าน : แม่ตั๋ง (หมู่ 3)

    https://forestinfo.forest.go.th