พลเดช ปิ่นประทีป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเดช ปิ่นประทีป
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พลังประชารัฐ (2561–2562)
คู่สมรสวณี ปิ่นประทีป

นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิก วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และอดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ชั่วคราว) กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[1] ใน รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ประวัติ[แก้]

พลเดช ปิ่นประทีป เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของนายเสงี่ยม กับนางกาญจนา ปิ่นประทีป[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต ระดับปริญญาโท แพทยศาสตร จากมหาวิทยาลัยมหิดล และวุฒิบัตรด้านเวชศาสตร์ แพทยสภา

พลเดช ปิ่นประทีป สมรสกับนางวณี ปิ่นประทีป (สกุลเดิม สุขอารมณ์) มีบุตรทั้งหมด 3 คน คือ พิชญา ตั้งปกรณ์ (พิชญา ปิ่นประทีป) , วศิน ปิ่นประทีป, สวรรยา ปิ่นประทีป

การทำงาน[แก้]

นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีป รับราชการในกระทรวงสาธารณสุข และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลในจังหวัดพิษณุโลก ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมืองในตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) ซึ่งภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[3] ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อช่วยงานของไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง

หลังจากพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2551 เขาได้ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และ กรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

พลเดช ปิ่นประทีป ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 27 คน เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และนำไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย [4]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พลเดช ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2559 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ[5]

ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข [6]

ใน พ.ศ. 2561 ได้ร่วมก่อตั้ง พรรคพลังประชารัฐ แต่นายแพทย์พลเดชขอเป็นเพียงผู้ก่อตั้ง ไม่ขอเป็นผู้บริหารพรรค และไม่ขอลงสมัคร ส.ส.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายพลเดช ปิ่นประทีป[ลิงก์เสีย]
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์, พลเดช ปิ่นประทีป, มรกต กรเกษม)
  4. "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  5. ‘หมอพลเดช’ เป็นเลขาธิการ สช.ต่อจาก ‘หมออำพล’ เริ่ม ก.ค.นี้
  6. ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
  7. ราชกิจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘