ศาสนาในประเทศโซมาเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสนาในประเทศโซมาเลีย (ค.ศ. 2020)

  อื่น ๆ หรือไม่นับถือ (0.1%)

ศาสนาหลักในประเทศโซมาเลียคือศาสนาอิสลาม[2] และมีชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์ พื้นเมืองแอฟริกา และอื่น ๆ

ศาสนาประจำชาติ[แก้]

อิสลาม[แก้]

มัสยิดความสามัคคีอิสลามที่โมกาดิชูเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคจะงอย

พลเมืองส่วนใหญ่ในประเทศโซมาเลียเป็นมุสลิม[3] บางข้อมูลระบุว่ามีผู้นับถือนิกายซุนนีถึงร้อยละ 99 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งดำเนินตามสำนัก[[ชาฟิอี][4] อย่างไรก็ตาม การสำรวจของสำนักวิจัยพิวในประเทศจิบูตี ประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันตกเฉียงเหนือที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวโซมาลี พบว่ามีรายงานมุสลิมในบริเวณนั้นนับถือนิกายซุนนีร้อยละ 77 ไม่อิงนิกายร้อยละ 8 ชีอะฮ์ร้อยละ 2 ไม่ระบุคำตอบร้อยละ 13 และรายงานเพิ่มเติมในภูมิภาคโซมาลีระบุว่ามีผู้นับถือร้อยละ 2 ที่นับถือนิกายส่วนน้อย (เช่น อิบาฎียะฮ์, คอรานิซึม ฯลฯ)[5][6][7] ลัทธิศูฟี รหัสยลัทธิของศาสนาอิสลาม ยังเป็นที่ยอมรับอย่างดี โดยมี jama'a ท้องถิ่น (zawiya) จากสำนักศูฟี tariiqa หลายกลุ่ม[8] รัฐธรรมนูญโซมาเลีย มาตราที่ 3 ระบุให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และชะรีอะฮ์เป็นแหล่งที่มาพื้นฐานสำหรับกฎหมายระดับชาติ นอกจากนี้ยังกำหนดว่าจะต้องไม่มีกฎหมายใดที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของชะรีอะฮ์ที่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ มาตราที่ 11 รับรองสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียมกันจากการกดขี่ข่มเหงพลเมืองทุกคนก่อนกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงศาสนา นอกจากนี้ มาตรา 17 คุ้มครองเสรีภาพในการนับถือศาสนา[9]

ประวัติ[แก้]

ชนกลุ่มน้อย[แก้]

อาสนวิหารโมกาดิชู อดีตที่ตั้งของมุขมณฑลโมกาดิชู

คริสต์[แก้]

ศาสนาคริสต์เข้ามายังพื้นที่ชายฝั่งโซมาเลียในคริสต์ศตวรรษที่ 7[10]

ณ ค.ศ. 2021 มีชาวคริสต์ท้องถิ่นอย่างน้อยไม่กี่คนในโซมาลีแลนด์[11]

มุขมณฑลโมกาดิชูรายงานว่ามีผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกอย่างเป็นทางการประมาณ 100 คนในโซมาเลียเมื่อ ค.ศ. 2004[12]

ความเชื่อพื้นเมือง[แก้]

สำนักวิจัยพิวรายงานว่า ประชากรโซมาเลียน้อยกว่าร้อยละ 0.01 ใน ค.ศ. 2010 นับถือศาสนาพื้นเมืองหรือศาสนาพื้นเมืองแอฟริกา[13]

อื่น ๆ[แก้]

สำนักวิจัยพิวรายงานว่ามีประชากรโซมาเลียน้อยกว่าร้อยละ 0.01 ใน ค.ศ. 2010 นับถือศาสนาฮินดู พุทธ หรือไม่มีศาสนา[13]

เสรีภาพในการนับถือศาสนา[แก้]

รัฐธรรมนูญโซมาเลียให้สิทธิของบุคคลในการนับถือศาสนาของตน ทำให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ห้ามเผยแพร่ศาสนาอื่นใดนอกจากศาสนาอิสลาม (แม้ว่าไม่ได้ห้ามการเปลี่ยนศาสนาโดยตรง) และกำหนดกฎหมายทั้งหมดต้องเป็นไปตามหลักการทั่วไปของกฎหมายศาสนาอิสลาม โดยไม่มีการยกเว้นสำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม รัฐบาลกลางโซมาเลียมีความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายจำกัดเพียงเกรตเตอร์โมกาดิชู พื้นที่อื่นในโซมาเลียส่วนใหญ่อยู่นอกเขตควบคุม[14] รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดให้ประธานาธิบดีต้องเป็นมุสลิม (แต่ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งคนอื่น ๆ) ไม่มีสถานที่สักการะสาธารณะสำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในประเทศ นอกจากท่าอากาศยานนานาชาติ[14]

เนื่องจากสงครามกลางเมืองโซมาเลีย การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยรัฐบาลปกครองตนเองหลายแห่งในภูมิภาคนั้นไม่สอดคล้องกัน โดยทั่วไป ฝ่ายตุลาการในพื้นที่ส่วนใหญ่จะอาศัย xeer (กฎหมายจารีตประเพณี) ชะรีอะฮ์ และประมวลกฎหมายอาญา[14]

ใน ค.ศ. 2023 ประเทศนี้ได้คะแนนเสรีภาพทางศาสนาในระดับศูนย์จาก 4[15] และในปีเดียวกัน ประเทศนี้ได้รับการจัดอันดับเป็นสถานที่ที่เลวร้ายที่สุดสำหรับชาวคริสต์เป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงเกาหลีเหนือ[16]

มุมมองสังคม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Religions in Somalia | PEW-GRF". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-05.
  2. "Religions in Somalia | PEW-GRF". www.globalreligiousfutures.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-05. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  3. "Middle East Policy Council – Muslim Populations Worldwide". Mepc.org. 2005-12-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-14. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
  4. Oldfield, EC (1993). The Endemic Infectious Diseases of Somalia. Clinical Infectious Diseases. Vol. 16. p. 133. doi:10.1093/clinids/16.supplement_3.s132. PMID 8443330. and at least 90% are Sunni Muslims. However, deep divisions exist among competing clan-families, clans, and lineages. The history of Somalia is a long and repetitive story of conflicts
  5. "Religious Identity Among Muslims". Pew Research Center's Religion & Public Life Project (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-08-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-07.
  6. Filesi, Teobaldo. "MOGADISCIO: TANTI SECOLI FA." Africa: Rivista trimestrale di studi e documentazione dell’Istituto italiano per l’Africa e l’Oriente 51.2 (1996): 263-272.
  7. Abdullahi, Mohamed Diriye (2001). Culture and customs of Somalia. Greenwood. pp. 1. ISBN 978-0-313-31333-2.
  8. I. M. Lewis, Saints and Somalis: popular Islam in a clan-based society, (The Red Sea Press: 1998), pp. 8–9.
  9. "The Federal Republic of Somalia - Provisional Constitution". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  10. Aweis A Ali (May 2021). "A Brief History of Christianity in the Somali Peninsula" – โดยทาง ResearchGate.
  11. "Somaliland Christians released after offences-against-Islam charges dismissed". 8 June 2021.
  12. "Diocese of Mogadiscio". Catholic-Hierarchy.org. David M. Cheney. สืบค้นเมื่อ 23 January 2015.
  13. 13.0 13.1 "The Global Religious Landscape, Religious groups 2010" (PDF). Pew Research Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 9, 2013. สืบค้นเมื่อ 27 December 2013.
  14. 14.0 14.1 14.2 US State Dept 2022 International Religious Freedom Report for Somalia เก็บถาวร 2018-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. Freedom House website, retrieved 2023-08-08
  16. Open Doors website, retrieved 2023-08-08