ศิลาชีต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลาชีตตามธรรมชาติ

ศิลาชีต (สันสกฤต: शिलाजीत; Shilajit, แปลตรงตัว'ผู้พิชิตเขา/ศิลา'), ซาลาจีต (อูรดู: سلاجیت; salajeet), มูมีโย (mumijo), มุมลายี (mumlayi) หรือ มูมี (mumie)[1] เป็นผลิตภัณฑ์แร่อินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามถ้ำและโพรงบนเขา[2]

ผงสีดำถึงน้ำตาลเข้มนี้มักพบได้ตามเทือกเขาหิมาลัย, เทือกเขาปามีร์, เทือกเขาคอเคซัส, เทือกเขาอัลไท และเทือกเขาแอนดีสในเปรู[3] มีการใช้งานผงศิลาชีตในฐานะการแพทย์แผนโบราณมาอย่างยาวนาน เช่นในการแพทย์อายุรเวท, การแพทย์แผนจีน และการแพทย์แผนทิเบต ไปจนถึงในการแพทย์แผนทางเลือกอื่น ๆ ในปัจจุบัน ศิลาชีตมีผลิตจำหน่ายทั้งในรูปผงสกัดแห้ง และในรูปอาหารเสริมสำเร็จรูป[4]

มีหลักฐานการใช้งานศิลาชีตในการแพทย์พื้นบ้านในอัฟกานิสถาน อินเดีย จีน อิหร่าน ปากีสถาน เนปาล เอเชียกลาง และทิเบต มามากกว่าสี่พันปีมาแล้ว[5] รวมถึงยังปรากฏการบรรยายถึงสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆ ในบันทึกของแพทย์โบราณ เช่น อาริสโตเติล, อะบู บัคร์ อัลราซี, อัลบีรูนี, อิบน์ซีนา เป็นต้น[2][6][7]

แดร์เบโลต์บันทึกไว้ในผลงานตีพิมพ์ปี 1821 ว่าชาวเปอร์เซียใช้สสารที่เรียกว่า มูเมีย (mumiay) เป็นยาสารพัดโรคที่ออกฤทธิ์แรงสำหรับแก้กระดูกแตกและโรคอื่น ๆ[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wilson E, Rajamanickam GV, Dubey GP, Klose P, Musial F, Saha FJ, Rampp T, Michalsen A, Dobos GJ (June 2011). "Review on shilajit used in traditional Indian medicine". J Ethnopharmacol (Review). 136 (1): 1–9. doi:10.1016/j.jep.2011.04.033. PMID 21530631.
  2. 2.0 2.1 "MUMIYO • Great Russian encyclopedia - electronic version". bigenc.ru. สืบค้นเมื่อ 2022-08-01.
  3. Hill, Carol A.; Forti, Paolo (1997). Cave Minerals of the World. National Speleological Society. ISBN 978-1-879961-07-4.[ต้องการเลขหน้า]
  4. Winston, David; Maimes, Steven (2007-03-22). "Part two: Materia medica. 7. Monographs on Adaptogens. Shilajit". Adaptogens: Herbs for Strength, Stamina, and Stress Relief (ภาษาอังกฤษ). Inner Traditions / Bear & Co. p. 129. ISBN 978-1-59477-158-3.
  5. Kloskowski, T.; Szeliski, K.; Krzeszowiak, K.; Fekner, Z.; Kazimierski, Ł; Jundziłł, A.; Drewa, T.; Pokrywczyńska, M. (2021-11-19). "Mumio (Shilajit) as a potential chemotherapeutic for the urinary bladder cancer treatment". Scientific Reports. 11 (1): 22614. Bibcode:2021NatSR..1122614K. doi:10.1038/s41598-021-01996-8. ISSN 2045-2322. PMC 8604984. PMID 34799663.
  6. Korchubekov, B. K., Altymyshev, A. A. (1987). Mumië "arkhar-tash" i ego fiziologicheskai︠a︡ aktivnostʹ. Soviet Union: Ilim.
  7. Source study and textual criticism of monuments of medieval sciences in the countries of Central Asia: a collection of scientific works. (1989). Russia: "Science," Siberian Branch.
  8. Ouseley, William (1821). Travels in various countries of the East : more particularly Persia. Rodwell and Martin, London.