สงครามกำกวม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามกำกวม
ส่วนหนึ่งของ สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
USS Constellation
ซ้าย: การพรรณนาถึงการรบ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799; ขวา: นาวิกโยธินสหรัฐจากยูเอ็สเอ็ส คอนส์ติตูชัน เข้ายึดเรือสลัดหลวงของฝรั่งเศส
วันที่7 กรกฎาคม ค.ศ. 1798 – 30 กันยายน ค.ศ. 1800
(2 ปี 2 เดือน 3 สัปดาห์ 2 วัน)
สถานที่
มหาสมุทรแอตแลนติก แคริบเบียน มหาสมุทรอินเดีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ผล

อเมริกาชนะ[2][3]

คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
  • อเมริกา:
    • เรือรบมากกว่า 9 ลำ, เรือสลุบ 4 ลำ, เรือใบสองเสา 2 ลำ, และเรือใบ 3 ลำ
    • ทหารเรือและนาวิกโยธิน 5,700 นาย
    • สลัดหลวง 365 นาย
บริเตน: ไม่ทราบ
ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
  • อเมริกา:
    • บุคลากรทางทหาร: เสียชีวิตมากกว่า 82 นาย และบาดเจ็บมากกว่า 84 นาย
    • พลเรือน: ไม่ทราบ
    • เรือ: เรือสลัดหลวง 22 ลำ และมีเรือรบที่ถูกยึดอีกมากกว่า 2000 ลำ
บริเตน: ไม่ทราบ
  • ฝรั่งเศส:
    • บุคลากรทางทหาร: เสียชีวิตมากกว่า 20 นาย, บาดเจ็บมากกว่า 42 นาย, และถูกจับเป็นเชลยอีก 517 นาย
    • พลเรือน: ไม่ทราบ
    • เรือ: เรือรบ 1 ลำ, เรือคอร์เวต 2 ลำ, เรือใบสองเสา 1 ลำ; มีเรือสลัดหลวงที่อัปปางและถูกยึดอีก 118 ลำ[4]

สงครามกำกวม (ฝรั่งเศส: Quasi-guerre; อังกฤษ: Quasi-War) เป็นสงครามทางเรือที่มิได้ประกาศสงครามซึ่งกันและกัน ดำเนินขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1798 ถึง ค.ศ. 1800 ระหว่างสหรัฐกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 โดยเขตสงครามส่วนใหญ่จะอยู่ในแคริบเบียนและบริเวณรอบนอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ

ใน ค.ศ. 1793 รัฐสภาสหรัฐได้ยุติการชําระคืนเงินกู้ฝรั่งเศสที่งอกเงยขึ้นในระหว่างสงครามปฏิวัติอเมริกา ซึ่งข้อพิพาทระหว่างทั้งสองฝ่ายเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องจากการตีความสนธิสัญญาพันธไมตรีและการพาณิชย์ ค.ศ. 1778 ที่แตกต่างกัน หลังจากฝรั่งเศสเผชิญสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่งกับบริเตนใหญ่ใน ค.ศ. 1792–1797 ทางบริเตนเองมองว่าสนธิสัญญาเจย์ที่ลงนามระหว่างสหรัฐกับบริเตนเมื่อ ค.ศ. 1794 ไม่มีความสอดคล้องกับสนธิสัญญาพันธไมตรีเหล่านี้ และได้ตอบโต้ด้วยการยึดเรืออเมริกันที่ค้าขายกับอังกฤษ

การเจรจาทางการทูตล้มเหลวในการแก้ไขข้อแตกต่างเหล่านี้ และในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1796 สลัดหลวงฝรั่งเศสเปิดการโจมตีต่อเรือพาณิชย์ที่แล่นในน่านน้ําอเมริกา โดยไม่คํานึงถึงสัญชาติใด ๆ และด้วยการล่มสลายของกองทัพเรือสหพันธรัฐภายหลังการประกาศอิสรภาพ ทําให้สหรัฐไม่สามารถตอบโต้ได้อย่างเต็มกำลัง ซึ่งทำให้ภายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1797 เรือสัญชาติอเมริกันกว่า 316 ลํา ถูกยึดโดยฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1798 รัฐสภาสหรัฐจึงได้รวมกำลังจัดตั้งกองทัพเรือสหรัฐขึ้นมา และได้รับอนุญาตให้ใช้กําลังทหารต่อต้านฝรั่งเศสในเดือนกรกฎาคม

นอกเหนือจากการปฏิบัติการของเรือรบสหรัฐแล้ว ภายใน ค.ศ. 1799 การสูญเสียของชาวสหรัฐลดลงอย่างมากผ่านความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการกับราชนาวี โดยเรือพาณิชย์จากทั้งสองประเทศได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมขบวนของกันและกัน การเจรจาทางการทูตระหว่างสหรัฐกับฝรั่งเศสยังคงดําเนินต่อไป และต่อมาจึงมีการจัดตั้งสถานกงสุลฝรั่งเศสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1799 ซึ่งนําไปสู่อนุสัญญา ค.ศ. 1800 อันเป็นการปิดฉากสงครามในท้ายที่สุด

อำนาจของรัฐสภาสหรัฐในการอนุมัติปฏิบัติการทางทหารโดยไม่ต้องประกาศสงครามอย่างเป็นทางการได้รับการยืนยันจากศาลสูงสุดสหรัฐในภายหลัง และยังเป็นพื้นฐานของเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันนับแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมของสหรัฐในสงครามเวียดนาม และสงครามอ่าวใน ค.ศ. 1991 ด้วย[5][a]

หมายเหตุ[แก้]

  1. นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศใน ค.ศ. 1776 สหรัฐมีส่วนร่วมในการประกาศสงครามเพียง 5 ครั้งเท่านั้น (สงคราม ค.ศ. 1812, สงครามเม็กซิโก–สหรัฐ, สงครามสเปน–สหรัฐ, สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสงครามโลกครั้งที่สอง) เปรียบเทียบกับสงครามที่มิได้ประกาศสงครามอย่างเป็นทางการมีมากกว่า 115 สงคราม ด้วยกัน[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Eclov 2013, p. 223-224: "British and American warships shared coded signals to identify each other as friendly, sailed in concert, and sometimes chased the enemy together. The commanders often entertained their opposite numbers aboard their ships, and shared intelligence on enemy strength, and disposition. Without compunction, they convoyed the other nation's merchantmen. The British governors allowed American men of war to use their islands as bases of operations and to board prisoners of war captured in theatre.".
  2. Kraska, James; Pedrozo, Raul A. (2018-06-15). The Free Sea: The American Fight for Freedom of Navigation (ภาษาอังกฤษ). Naval Institute Press. ISBN 978-1-68247-117-3.
  3. Center, Naval Education and Training Program Development (1977). Naval Orientation (ภาษาอังกฤษ). Department of Defense, Navy Department, Naval Education and Training Support Command. p. 22.
  4. Clodfelter 2002, pp. 136–137.
  5. 5.0 5.1 Fehlings 2000, p. 18.

บรรณานุกรมและแหล่งข้อมูลทั่วไป[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]