ข้ามไปเนื้อหา

หลานม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลานม่า
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับพัฒน์ บุญนิธิพัฒน์
เขียนบททศพล ทิพย์ทินกร
พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์
อำนวยการสร้างวรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์
จิระ มะลิกุล
นักแสดงนำพุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล
อุษา เสมคำ
สฤญรัตน์ โทมัส
สัญญา คุณากร
พงศธร จงวิลาส
ต้นตะวัน ตันติเวชกุล
กำกับภาพบุณยนุช ไกรทอง
ตัดต่อธรรมรัตน์ สุเมธศุภโชค
ดนตรีประกอบใจเทพ ร่าเริงใจ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายจีดีเอช ห้าห้าเก้า
วันฉาย4 เมษายน 2567 (2567-04-04)
ประเทศไทย
ภาษาไทย, แต้จิ๋ว
ทำเงิน169.00 ล้านบาท (กรุงเทพฯ, ปริมณฑล และเชียงใหม่)
320.7 ล้านบาท (ทั่วประเทศ)
(รายได้ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2567)

หลานม่า (อังกฤษ: How to Make Millions Before Grandma Dies; LAHN MAH, The Chinese Family) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวดราม่า ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2567 สร้างโดย จอกว้างฟิล์ม จัดจำหน่ายโดย จีดีเอช ห้าห้าเก้า กำกับภาพยนตร์โดย พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ อำนวยการสร้างโดย วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ และจิระ มะลิกุล นำแสดงโดย พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล , ต้นตะวัน ตันติเวชกุล , สัญญา คุณากร , พงศธร จงวิลาส , สฤญรัตน์ โทมัส และนักแสดงอาวุโส อุษา เสมคำ

เรื่องย่อ[แก้]

หลานม่า คือเรื่องราวที่มีเค้าแรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริงในครอบครัวสังคมไทย[1] ผ่านตัวละครของ เอ็ม (พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล) ที่ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ กลับมาใช้ชีวิตร่วมกับ อาม่าเหม้งจู (อุษา เสมคำ) ผู้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของครอบครัว เบื้องหน้าที่ดูเหมือนหลานมาดูแลอาม่าในบั้นปลายชีวิต แต่แท้จริงแล้วเอ็มมีจุดประสงค์บางอย่างซ่อนอยู่ หลังได้รู้ว่า มุ่ย (ต้นตะวัน ตันติเวชกุล) ได้รับมรดกก้อนใหญ่เป็นบ้านราคาสิบล้านบาทจากอากง เอ็มจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อให้อาม่าไว้ใจ แต่กำแพงที่อาม่าตั้งไว้ ทำให้เอ็มได้เริ่มเรียนรู้การใช้ชีวิตไปทีละน้อย จนอะไรบางอย่างถูกอาม่าเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

นักแสดง[แก้]

เพลงประกอบ[แก้]

สวยงามเสมอ (Ever-Forever) ร้องโดย บิวกิ้น

การสร้าง ประชาสัมพันธ์ และการออกฉาย[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นโครงการที่จีดีเอชประกาศขึ้นในงานแถลงข่าวประจำปี 2566 ภายใต้ชื่อ The Chinese Family และวางกำหนดฉายในช่วงปลายปีเดียวกัน แต่เนื่องจากคิวฉายภาพยนตร์ซ้อนทับหลายเรื่องพร้อมกัน จีดีเอชจึงได้เลื่อนกำหนดฉายภาพยนตร์ออกมาเป็น พ.ศ. 2567 ก่อนมีการจัดแถลงข่าวเปิดตัวภาพยนตร์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ณ บ้านหับโห้หิ้น บางกอก ซอยสุขุมวิท 31 แขวง คลองเตยเหนือ เขต วัฒนา กรุงเทพมหานคร [2] ก่อนปล่อยใบปิดภาพยนตร์ และตัวอย่างภาพยนตร์ในวันเดียวกัน

อีกหนึ่งเดือนถัดมา จีดีเอชได้ประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์โดยออกประกาศหยุดพิเศษในวันแรกของการฉายภาพยนตร์ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานได้กลับบ้านไปใช้เวลาร่วมกันกับคนที่คิดถึง หรือจะพาคนในครอบครัวไปใช้เวลาชมภาพยนตร์นี้ด้วยกันในโรงภาพยนตร์ หลังจากนั้นก็มีบริษัทอื่น เช่น กันตนา สมอลล์รูม เป็นต้น ออกประกาศในลักษณะเดียวกัน[3][4] นอกจากนี้ยังมีการนำภาพนักแสดงนำทั้งสองพร้อมข้อความไปติดตั้งบริเวณประตูม้วนเหล็กที่ย่านบรรทัดทอง, สีลม และลาดพร้าว อีกด้วย[5]

"หลานม่า" จัดงานเปิดตัวพร้อมฉายรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567 ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน[6] ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยในการฉายรอบดังกล่าว ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, มนัญญา ไทยเศรษฐ์ ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ร่วมชมภาพยนตร์ด้วย[7][8]

กระแสตอบแรกของผู้ชมเป็นไปอย่างล้นหลาม เป็นภาพยนตร์ไทยที่มียอดจองตั๋วล่วงหน้าสูงที่สุดของปี 2567 ทำเงินเปิดตัววันแรกในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 9.54 ล้านบาท[9] (ทั่วประเทศ 21 ล้านบาท)[10] เมื่อออกฉายครบสุดสัปดาห์แรก (4 วัน) ทำเงินในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 48.68 ล้านบาท[11] (ทั่วประเทศ 110 ล้านบาท)[12] และหลังออกฉายครบ 1 สัปดาห์ ทำเงินในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 83.13 ล้านบาท[13] นอกจากนี้ยังทำเงินในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เป็นอันดับ 1 นานถึง 4 สัปดาห์ติดต่อกัน[14] หลังเข้าฉายสัปดาห์ที่แปด ทำเงินรวมในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 167.87 ล้านบาท กลายเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดตลอดกาลของค่ายจีดีเอช แซงหน้าภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส 2[15] สิ้นสุดโปรแกรมการฉาย ทำเงินรวมในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 169 ล้านบาท และทำเงินรวมทั่วประเทศ 321 ล้านบาท[16] ติดอันดับที่ 11 ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย

การออกฉายในต่างประเทศ[แก้]

"หลานม่า" ประสบความสำเร็จทั้งคำวิจารณ์และรายได้ในต่างประเทศ โดยเริ่มที่ประเทศอินโดนีเซียเป็นแห่งแรก ออกฉายอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งได้รับเสียงตอบรับอย่างท่วมท้น เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดของจีดีเอชในประเทศอินโดนีเซีย[17] เป็นภาพยนตร์ไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาลในอินโดนีเซีย แซงหน้าเจ้าของสถิติเดิมอย่างภาพยนตร์ ร่างทรง หลังจากการเข้าฉาย 9 วัน[18]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นภาพยนตร์ไทยทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในมาเลเซียภายใน 10 วันนับจากวันเข้าฉาย[19] และครองตำแหน่งภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในมาเลเซียติดต่อกันถึง 2 สัปดาห์ [20] เมื่อเข้าฉายในประเทศสิงคโปร์ นอกจากจะทำรายได้เปิดตัวสูงสุดตลอดกาล ทำลายสถิติ พี่มาก..พระโขนง เมื่อปี 2556 แล้ว[21] ยังเป็นภาพยนตร์ไทยทำรายได้สูงสุดตลอดกาลภายใน 11 วันหลังเข้าฉายอีกด้วย [22] เมื่อเข้าฉายในประเทศเวียดนาม ขึ้นแท่นเป็นภาพยนตร์ไทยทำรายได้เปิดตัวสูงสุดตลอดกาล ทำลายสถิติ บุพเพสันนิวาส ๒ ถึง 2 เท่า [23]

*ภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2567

ประเทศ วันเข้าฉาย ทำเงิน
(ล้าน)
แปลงเป็น
เงินไทย
(ล้านบาท)
 อินโดนีเซีย 15 พฤษภาคม 2567 $9.80 360.48
 ฟิลิปปินส์ 29 พฤษภาคม 2567 ₱64.33 40.20
 สิงคโปร์ 30 พฤษภาคม 2567 S$1.77 48.06
 มาเลเซีย 30 พฤษภาคม 2567 RM10 77.90
 บรูไน 30 พฤษภาคม 2567
 ลาว 30 พฤษภาคม 2567 ₭319 0.54
 พม่า 31 พฤษภาคม 2567
 เวียดนาม 7 มิถุนายน 2567 ₫34,802 50.12
 ฮ่องกง 13 มิถุนายน 2567
 มาเก๊า 13 มิถุนายน 2567
 กัมพูชา 18 มิถุนายน 2567
 ไต้หวัน 21 มิถุนายน 2567
 จีน TBA
 ออสเตรเลีย TBA
 นิวซีแลนด์ TBA
 เกาหลีใต้ TBA

อ้างอิง[แก้]

  1. Thosapol (2024-04-02). "เรื่องย่อ "หลานม่า" เตรียมตัวก่อนรับชม ฉายวันแรก 4 เม.ย. 67". Thaiger ข่าวไทย.
  2. 'จีดีเอช' จัดงาน OPEN HOUSE เปิดตัวภาพยนตร์ใหม่ 'หลานม่า'
  3. "ปรากฏการณ์ หลานม่า บริษัทเอกชนพร้อมใจกันมอบ วันหยุดพิเศษ 4 เมษายน". THE STANDARD. 2024-03-27.
  4. เกินไปมาก! หลายบริษัทประกาศเพิ่มวันหยุดเดือนเมษา พาครอบครัวไปดูหนังหลานม่า
  5. "ดีไม่หยุด! ส่องการโปรโมท "หลานม่า" ที่ทำให้ผู้ชมอยากชวนคนใกล้ตัวไปดู". Mint Magazine Thailand.[ลิงก์เสีย]
  6. "น้ำตาท่วม 'หลานม่า' รอบปฐมทัศน์ 'บิวกิ้น - ตู' นำทีมนักแสดง เปิดตัวร่วมชมหนัง". komchadluek. 2024-04-02.
  7. "ครม. ร่วมชม "หลานม่า" รอบปฐมทัศน์ น้ำตาลูกผู้ชาย! "ชาดา-สิริพงศ์" ซึ้งกินใจ แม้หนังเศร้า แต่เชื่อว่าเมื่อดูจบ "ยิ้มได้"". mgronline.com. 2024-04-01.
  8. รมต.ก็มา 'ทวี' ควงลูกชาย ร่วมงานเปิดตัวภาพยนตร์ "หลานม่า" รอบกาลาพรีเมียร์
  9. หลานม่า ผลงานเรื่องใหม่จากค่าย GDH ทำเงินเปิดตัววันแรกในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงถึง 9.54 ล้านบาท
  10. Thosapol (2024-04-05). "หลานม่า เปิดตัววันแรก กวาดรายได้ 21 ล้านบาท กระแสแรง ทัชใจผู้ชม". Thaiger ข่าวไทย.
  11. "อัปเดต รายได้หนังประจำสัปดาห์ 'หลานม่า' 4 วัน ทะลุ 100 ล้านทั่วประเทศ". bangkokbiznews. 2024-04-08.
  12. "อันดับหนังทำเงินทั่วประเทศไทย ประจำสัปดาห์ (วันที่ 8/4/2567) – Thailand Box Office And Entertainment" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  13. รายได้ภาพยนตร์ในไทย ประจำวันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน 2567
  14. อันดับหนังทำเงินบ้านเราประจำสุดสัปดาห์ที่ 25-28 เมษายน 2567
  15. หนังไทยสุดฮิต อย่าง หลานม่า ซึ่งทำเงินรวมในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่ไปแล้วถึง 167.87 ล้านบาท ก็ได้ขึ้นแท่นเป็นหนังค่าย GDH ทำเงินรวมสูงสุดตลอดกาลในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  16. Furiosa พ่วงความแค้น ระเบิดรายได้ทั่วประเทศไทย 5 วันแรก เปิดตัวไป 22.3 ล้านบาท แค่เฉพาะวันที่ 22 วันเดียวเก็บไป 7.3 ล้านบาท
  17. เพ้นท์ (2024-05-19). "'หลานม่า' เปิดตัวแรง ทำชาวอินโดน้ำตาท่วม".
  18. ชาวอินโดนีเซีย เทใจให้ 'หลานม่า' จนเกิดปรากฏการณ์ความซาบซึ้ง ภายใน 9 วัน ขึ้นแท่นหนังไทยทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในอินโดนีเซียไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย
  19. https://www.facebook.com/photo/?fbid=1030508378440209&set=a.817149166442799
  20. https://www.facebook.com/photo?fbid=1031770651647315&set=a.817149153109467
  21. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=850264203809795&set=pb.100064786683521.-2207520000&type=3
  22. https://www.facebook.com/photo/?fbid=856565716512977&set=pb.100064786683521.-2207520000
  23. "หลานม่า ซึ้งข้ามชาติ ทัชใจข้ามพรมแดน เข้าฉายเวียดนาม ขึ้นแท่นเป็นหนังทำรายได้สูง". www.thairath.co.th. 2024-06-09.