อนุตตมา อมรวิวัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุตตมา อมรวิวัฒน์
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(2 ปี 104 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
(0 ปี 166 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถัดไปภักดีหาญส์ หิมะทองคำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2554–2561,2564–ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
คู่สมรสพ.ต.อ.ณกฤช บุญศักดิ์

อนุตตมา อมรวิวัฒน์ (ชื่อเล่น จิ๊บ) อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ อดีตรองเลขาธิการ และอดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย [1]อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตโฆษกกระทรวงการคลัง อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 และเป็นบุตรสาวของพลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์

ประวัติ[แก้]

อนุตตมา อมรวิวัฒน์ เป็นบุตรสาวของพลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กับนางอัญชลีพรรณ อมรวิวัฒน์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 2 ด้านรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทสองสาขา คือ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยบอสตัน กับสาขานโยบายเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และเป็นลูกพี่ลูกน้อง จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รัฐบาลของเศรษฐา ทวีสิน

การทำงาน[แก้]

อนุตตมา อมรวิวัฒน์ เริ่มทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา เป็นข้าราชการประจำกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ในตำแหน่ง นักวิชาการพาณิชย์ ระดับ 6 จากนั้นจึงเปลี่ยนแปลงสายงานมาเป็นอาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] กระทั่งได้ลาออกจากงานอาจารย์ เพื่อลงสมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย ในเขต 7 กทม. แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3] และต่อมาได้ย้ายไปเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [4] ได้รับมอบหมายให้ดูแลเกี่ยวกับงานด้านสังคม โดยเฉพาะ นโยบายสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส หลังจากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นอกจากนั้น ยังได้รับแต่งตั้งจากพรรคเพื่อไทย ให้ไปดำรงตำแหน่ง รองโฆษกพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 และได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้รับตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย

สำหรับงานด้านสภาผู้แทนราษฎร เคยดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาคณะกรรมการวิสามัญ การแก้ไขรัษฎากร สภาผู้แทนราษฎร และเคยดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364016113&grpid=03&catid=&subcatid=
  2. เพื่อไทยเปิดตัว “วัน อยู่บำรุง-อนุตตมา อมรวิวัฒน์” สมัครส.ส.กทม.จาก มติชน
  3. "นายกฯ"ชี้มอง"อนุสรณ์-อนุตตมา"ที่ความสามารถ[ลิงก์เสีย]
  4. "แต่งตั้ง "ภักดีหาญส์" นั่งรองโฆษกประจำสำนักนายกฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2012-02-14.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๘๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๙๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕