อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง (จีน: 車裏[1]) คือ อาณาจักรที่เคยตั้งอยู่ในเขตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน

อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง
อาณาจักรเชียงรุ่ง

景隴金殿國
พ.ศ. 1703–พ.ศ. 2493
แผนที่ในศตวรรษที่ 19
แผนที่ในศตวรรษที่ 19
เมืองหลวงเชียงรุ่ง
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
พ.ศ. 1703
• ผนวกโดยประเทศจีน
พ.ศ. 2493
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรต้าหลี่
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
 จีน

ขนาด และ เขตการปกครอง[แก้]

อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง หรือ อาณาจักรเชียงรุ่ง เป็นอาณาจักรที่เคยทรงอำนาจมากในเขตประเทศจีนตอนใต้ ทั้งยังขยายอิทธิพลไปตีเอาเมืองใกล้เคียง เช่น

มีวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นของตนเอง ใกล้เคียงกับวัฒนธรรมของพม่า ล้านนา สยาม ลาว และ เวียดนาม โดยแบ่งระบบการปกครองเป็น 12 พันนา 12000 พันนา หรือ 12 เขตการปกครอง โดยแต่ละเมือง จะมีเมืองเล็ก ๆ หลาย ๆ เมือง มารวมกันอยู่เมืองใหญ่ หรือ พันนา พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การปกครองแบบ สหพันธรัฐ และมีเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองเชียงรุ่ง การแบ่งเช่นนี้ก็เพราะว่า ความสะดวกในการปกครองและการเก็บส่วยอากร เก็บเครื่องบรรณาการส่งไปยังเชียงรุ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง

ที่จริงการแบ่งเขตแบบพันนานี้ นิยมใช้ในภูมิภาคแถว ๆ นั้น ลงมาจนถึงดินแดนล้านนา อีกอาณาจักรหนึ่งที่เป็นที่รู้จักก็คือ แคว้นสิบสองจุไทย ของชาวไทดำ ในอาณาจักรล้านนานั้นก็เช่นเดียว โดยจะเห็นได้จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งกล่าวถึงเขตแดนของเมืองเชียงแสนที่สร้างขึ้น บริเวณเมืองเงินยางเดิมโดยพญาแสนภู พระราชนัดดาของ พระยามังรายมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 1871 ตอนหนึ่งว่า "ดังมักแคว้นเขตแดนเมืองเชียงแสนทั้งเมือง มี 32 พันนาแล"

หลังจากนั้น อาณาจักรนี้ก็ถูกโจมตี จนอาณาจักรหอคำเชียงรุ่งล่มสลาย กลายเป็นแคว้นสิบสองปันนา

รายพระนามเจ้าฟ้าเชียงรุ่ง[2][แก้]

พระนาม เริ่ม (พ.ศ.) สิ้นสุด (พ.ศ.) หมายเหตุ
พญาเจือง 1703 1723
สามไค้เนือง 1723 1744 พระโอรสในพญาเจือง
อ้ายพูง 1744 1767 พระโอรสในสามไค้เนือง
ท้าวรุ่งแก่นชาย 1768 1789 พระโอรสในอ้ายพูง, พระอัยกา (ตา) ในพญามังราย[3]
ท้าวแรงหลวง 1789 1814 พระโอรสในท้าวรุ่งแก่นชาย
ท้าวพูวาก 1815 1828 พระโอรสในท้าวแรงหลวง
ยี่เพียงลากซาย 1828 1829 พระอนุชาในท้าวพูวาก
เจ้าไอ่ 1829 1888 พระโอรสในยี่เพียงลากซาย
เจ้าคานเมือง 1889 1933 พระโอรสในเจ้าไอ่
ท้าวสิดาคำ 1934 1956 พระโอรสในเจ้าคานเมือง
ท้าวกุมมาร 1956 1957 พระอนุชาในท้าวสิดาคำ
ท้าวกือเมือง 1957 1958 พระโอรสในท้าวสิดาคำ
ท้าวบากอง 1958 1959 พระโอรสในท้าวกือเมือง
ท้าวสองเมือง 1959 1977 พระอนุชาในท้าวบากอง
เสือล่วงฟ้า 1960 1974 พระภาติยะ (ลูกของน้องชาย) ในท้าวสิดาคำ, ปกครองร่วมกับท้าวสองเมือง
ท้าวปราแสง 1975 2000 พระโอรสในเสือล่วงฟ้า
ท้าวสามพ่อลือไท 2001 2033 พระอนุชาในท้าวสองเมือง
สามไค้เนือง 2033 2047 พระโอรสในท้าวสามพ่อลือไท
เจ้าคานเมือง 2047 2081 พระภาติยะ (ลูกของน้องชาย) ในสามไค้เนือง
เจ้าศรีสมภาร 2081 2104 พระโอรสในเจ้าคานเมือง
เจ้าอุ่นเมือง 2104 2121 พระโอรสในเจ้าศรีสมภาร
เจ้าศรีสุนันทา 2121 2122 พระโอรสในเจ้าอุ่นเมือง
เจ้าอิ่นเมือง 2122 2126 พระอนุชาในเจ้าศรีสุนันทา
เจ้าหน่อเมือง 2126 2171 พระโอรสในเจ้าอิ่นเมือง
เจ้าศรีสุธรรมา 2171 2187 พระโอรสในเจ้าหน่อเมือง
เจ้าหม่อมคำลือ 2188 2201 พระโอรสในเจ้าศรีสุธรรมา
เจ้าหม่อมท้าว 2201 2209 พระอนุชาในเจ้าหม่อมท้าว
เจ้าหน่อเมือง 2208 2215 พระโอรสในเจ้าหม่อมคำลือ
เจ้าเมืองท้าว 2215 2229 พระโอรสในเจ้าหม่อมท้าว
เจ้าแพงเมือง 2229 2269 พระโอรสในเจ้าเมืองท้าว
เท่าชิ่นเพา 2269 2272 พระโอรสในเจ้าแพงเมือง
เท่าเส่าวิ้น 2272 2310 พระอนุชาในเท่าชิ่นเพา
เท่าวุ้ยภิ้น 2315 2316 พระโอรสในเท่าเส่าวิ้น
เท่าวุ้ยภิ้นหลบหนีไปพม่า จีนจึงตั้งข้าหลวงมาควบคุมเชียงรุ่ง (2316 - 2320)
เจ้าหม่อมสุวรรณ 2320 2340 พระอนุชาในเท่าวุ้ยภิ้น
เจ้าหม่อมมหาวงศ์ 2340 2345 พระโอรสในเจ้าหม่อมสุวรรณ
เจ้ามหาน้อย 2346 2377 พระโอรสในเจ้าหม่อมมหาวงศ์
เจ้าหม่อมสุชาวรรณราชบุตร 2377 2407 พระภาติยะ (ลูกของน้องชาย) ในเจ้าหม่อมมหาวงศ์
เจ้าหม่อมส้อ 2407 2419 พระภาติยะ (ลูกของน้องชาย) ในเจ้าหม่อมสุชาวรรณราชบุตร
เจ้าหม่อมคำลือ 2421 2468 พระโอรสในเจ้าหม่อมส้อ
เจ้าหม่อมสุวรรณปราคราง 2468 2486 พระโอรสในเจ้าหม่อมคำลือ
เจ้าหม่อมคำลือ 2487 2493 พระภาติยะ (ลูกของน้องชาย) ในเจ้าหม่อมสุวรรณปราคราง
ยกเลิกตำแหน่งเจ้าฟ้า (2493)

อ้างอิง[แก้]

  1. "卷三百十五 列傳第二百〇三 雲南土司三" [Volume 315 Biographies 203: Yunnan Tribal Headmen 3], 明史 [History of Ming], สืบค้นเมื่อ 2024-05-13
  2. เท่าค่องแซ้ง; อ้ายคำ; วิชาศิลป์, เรณู, บ.ก. (1998), เชื้อเครือเจ้าแสนหวี ๑๒ พันนา, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, OCLC 1281314778, สืบค้นเมื่อ 2024-05-13
  3. สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, บ.ก. (1971), ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ [Tamnan Phuen Mueang Chiang Mai] (PDF), แปลโดย โชติสุขรัตน์, สงวน, พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, pp. 8–9, สืบค้นเมื่อ 2024-05-13