อำเภอปางมะผ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอปางมะผ้า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Pang Mapha
ฝูงปลาพลวงหินที่อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ
คำขวัญ: 
ถิ่นผีแมน แดนร้อยถ้ำ
งามล้ำขุนเขา รวมเผ่าชาวดอย
แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เน้นอำเภอปางมะผ้า
แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เน้นอำเภอปางมะผ้า
พิกัด: 19°31′21″N 98°14′46″E / 19.52250°N 98.24611°E / 19.52250; 98.24611
ประเทศ ไทย
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พื้นที่
 • ทั้งหมด798.37 ตร.กม. (308.25 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด22,318 คน
 • ความหนาแน่น27.95 คน/ตร.กม. (72.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 58150
รหัสภูมิศาสตร์5807
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอปางมะผ้า เลขที่ 99 ถนนแม่ฮ่องสอน-ปาย ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปางมะผ้า (ไทยถิ่นเหนือ:) เป็นอำเภอในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แยกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ปี พ.ศ. 2531[2] และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539[3] เป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีที่เพิงผาถ้ำลอดมีอายุเก่าแก่ถึง 32,000 ปี[4]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอปางมะผ้ามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ถ้ำลอด ซึ่งมีลำห้วยชื่อ น้ำลางไหล ลอดภูเขาไปทะลุออกอีกด้านหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม จากการพบเครื่องมือเครื่องใช้ โบราณในถ้ำสันนิษฐานได้ว่ามีอายุประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว
หมู่บ้านในอำเภอปางมะผ้า มีชาวไทใหญ่ มูเซอ และลีซอตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นหย่อม ๆ และชนกลุ่มน้อยผู้หลบหนีเข้าเมืองจากประเทศพม่าได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากิน

ประวัติ[แก้]

ปางมะผ้า มีลักษณะกายภาพทางภูมิศาสตร์ความโดดเด่นและหลากหลายทางธรรมชาติเป็นอย่างมากซึ่งมีความเป็นพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้พื้นที่ปางมะผ้าจึงแทบจะถูกปิดกั้นจากโลกภายนอกส่งผลให้การเดินทางหรือการคมนาคมผ่านพื้นที่ของเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานราชการสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ลำบาก คุณภาพชีวิตของประชาชนมีความแตกต่างกับพื้นที่อื่นอย่างชัดเจน ประกอบกับสภาพพื้นที่บางจุดของพื้นที่มีปัญหาความไม่สมดุลของสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎร ในพื้นที่หมู่บ้านแอโก๋แสนคำลือ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยมีพระราชประสงค์ที่จะทรงรับทราบและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกร และในช่วงเวลาต่อมาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับด้านการศึกษาและเรื่องการจัดการน้ำบ่อยครั้งในเขตพื้นที่ปางมะผ้า อาทิ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ระบบกักเก็บน้ำในน้ำ เป็นต้น[5]

ต่อมาพ่อค้าประชาชนได้ใช้เส้นทางนี้ในการติดต่อไปมา โดยมีจุดพักค้างแรมบริเวณที่ห้วยแม่อูมองไหลลงน้ำลางเรียกว่า สบป่อง และบริเวณที่พักค้างแรมเรียกว่า ปางมะผ้า เป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีชาวไทยใหญ่ ลาหู่ ลีซูตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นหย่อมและแทบจะตัดขาดจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง ปี พ.ศ. 2520 ทางราชการได้ตัดถนนให้ดีขึ้น บรรดาชาวพื้นราบ ชาวเขาจากต่างอำเภอ และชนกลุ่มน้อยผู้หลบหนีเข้าเมืองจากประเทศพม่า ได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินมากขึ้นตามลำดับ และในปี พ.ศ. 2526 พื้นที่ 6 หมู่บ้านของตำบลปางมะผ้า ได้แยกตั้งออกเป็นตำบลสบป่อง[6] ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2530 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และนายคงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ประกาศแยกพื้นที่ตำบลปางมะผ้า ตำบลสบป่อง ของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอในชื่อ "ปางมะผ้า"[2] เป็นภาษาของชาวไทยใหญ่เพราะจุดที่พักแรมนี้สามารถหามะนาวมาปรุงอาหารได้ ปาง แปลว่า ที่พักแรม มะผ้า หรือ หมากผ้า แปลว่า มะนาว "ปางมะผ้า" จึงหมายถึงบริเวณที่พักแรมที่มีต้นมะนาวอยู่เป็นจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2532 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่ 3 บ้านถ้ำลอด รวมกับอีก 4 หมู่บ้านในตำบลสบป่อง แยกตั้งออกเป็นตำบลถ้ำลอด และแยกพื้นที่หมู่ 3 บ้านนาปู่ป้อม รวมกับอีก 6 หมู่บ้านในตำบลปางมะผ้า แยกตั้งออกเป็นตำบลนาปู่ป้อม[7] และจัดตั้งไปรษณีย์ปางมะผ้าขึ้นในปี พ.ศ. 2532[8] ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และนายนายสมเจตน์ วิริยะดำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่กิ่งอำเภอปางมะผ้า มีเขตการปกครองทั้งหมด 4 ตำบล 33 หมู่บ้าน ประชากร 14,316 คน และ 3,380 ครัวเรือน[9] ในปี พ.ศ. 2539 จึงยกฐานะจากกิ่งอำเภอปางมะผ้า เป็น "อำเภอปางมะผ้า"[3] เป็นอำเภอลำดับที่ 7 ของทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ไร่ถั่วลิสงลายเสืออำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จุดเด่นถั่วลายเสือ คือลายที่เป็นเอกลักษณ์ มีรสชาติอร่อย เมล็ดใหญ่เรียงกัน เพราะด้วยพื้นที่การปลูกอยู่บนหุบเขา ทำให้ถั่วลายเสือ เจริญเติบโตได้ดี

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอปางมะผ้าแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 38 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)[10]
1. สบป่อง Sop Pong
8
8,285
2. ปางมะผ้า Pang Mapha
11
4,610
3. ถ้ำลอด Tham Lot
7
4,504
4. นาปู่ป้อม Na Pu Pom
12
4,919

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอปางมะผ้าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสบป่องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปางมะผ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปางมะผ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำลอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถ้ำลอดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาปู่ป้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาปู่ป้อมทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • สถานีตำรวจภูธรปางมะผ้า จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2484 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม ปีเดียวกัน[11] ในท้องที่ตำบลปางมะผ้า อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยแก่ประชาชน
  • โรงพยาบาลปางมะผ้า เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอปางมะผ้า ตั้งอยู่ที่เลขที่ 240 หมู่ที่ 1 บ้านสบป่อง ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง (F2) จำนวนเตียง 35 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข[12]
  • แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ อาทิ ถ้ำลอด ถ้ำน้ำลอด ถ้ำผีแมน และถ้ำผีแมนโลงลงรัก เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตอำเภอปางมะผ้า พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอปางมะผ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (67 ง): 2485. วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2530
  3. 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  4. โบราณคดีที่ ปางมะผ้า จ. แม่ฮ่องสอนคลี่คลายความลับจากบรรพกาล 32,000 ปี เรื่อง วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์, ภาพถ่าย เอกรัตน์ ปัญญะธารา : เผยแพร่ครั้งแรกในนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟิก ฉบับภาษาไทย เดือนพฤศจิกายน 2564
  5. ข้อมูลทั่วไปและประวัติความเป็นมาของอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (137 ง): 2958–2967. วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2526
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่กิ่งอำเภอปางมะผ้า อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 130-135. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2532
  8. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหนองบอน วังหิน ภักดีชุมพล นายูง ผาขาว บึงโขงหลง เวียงแหง บ้านธิ หนองม่วงไข่ บ่อเกลือ ปางมะผ้า น้ำหนาว ด่านมะขามเตี้ย และบางขัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (200 ง): 11575–11576. วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
  9. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตกิ่งอำเภอปางมะผ้า อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  10. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งนามสถานีตำรวจภูธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 76. วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2484
  12. "ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562 ณ มิถุนายน 2563". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.