ทิวเขาดงพญาเย็น

พิกัด: 14°20′N 102°03′E / 14.33°N 102.05°E / 14.33; 102.05
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิวเขาดงพญาเย็น
ทิวเขาดงพญาเย็นปรากฏอยู่ทางทิศตะวันออกของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,167 เมตร (3,829 ฟุต)
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว170 กม. (106 ไมล์) NW/SE
กว้าง40 กม. (25 ไมล์) NE/SW
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ทิวเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศประเทศไทย
พิกัดเทือกเขา14°20′N 102°03′E / 14.33°N 102.05°E / 14.33; 102.05
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทหินหินทรายและหินปูน[1]

ทิวเขาดงพญาเย็น เป็นทิวเขาที่ทอดตัวต่อเนื่องจากทิวเขาเพชรบูรณ์ เป็นแนวกั้นเขตระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เริ่มจากจังหวัดลพบุรี ผ่านบางส่วนของนครราชสีมาจนถึงนครนายก รวมความยาวประมาณ 129 กิโลเมตร[2]

หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่อ้างถึงดงพญาเย็น ปรากฎเป็นข้อความที่พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ตอบพระราชสาส์นไปถึงพระเจ้าฟ้างุ้ม ปฐมกษัตริย์แห่งล้านช้าง เมื่อครั้งเจ้าฟ้างุ้มคิดขยายดินแดนลงมายังลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในชื่อ "ดงสามเส้า" ความว่า "เฮาหากเป็นพี่น้องกันมาตั้งแต่ขุนบรมพุ้นดาย  เจ้าอยากได้บ้านได้เมือง ให้เจ้าเอาแต่เขตแดนดงสามเส้า (ดงพญาไฟ) เมือเท่าพูพะยาผ่อและแดนเมืองนะคอนไทเป็นเจ้าท้อน  อันหนึ่งข้อยจักส่งน้ำอ้อยน้ำตาลซู่ปี  อันหนึ่ง ลูกหญิงข้าชื่อนางแก้วยอดฟ้า ใหญ่มาแล้วจักส่งเมือให้ปัดเสื่อปูหมอนแก่เจ้าฟ้าแล…"

ช่องเขาบริเวณทิวเขาดงพญาเย็นเป็นช่องเขาสำคัญแต่โบราณ ปรากฎโบราณสถานที่พบระหว่างเส้นทางคือ ปรางค์นางผมหอมใกล้บ้านโคกคลี แสดงว่าการติดต่อระหว่างเมืองพระนครผ่านเมืองพิมายไปยังละโว้ (ลพบุรี) และเมืองศรีเทพ ล้วนต้องผ่านเส้นทางนี้ ในสมัยอยุธยาเส้นทางผ่านดงพญาเย็นช่วงจากลพบุรีไปโคราช เป็นเส้นทางที่กองทัพของเจ้าสามพระยาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราชใช้เดินทัพไปโจมตีเมืองเขมร[3]

ในอดีตเรียกดงพญาเย็นว่า ดงพญาไฟ มีคำกล่าวว่า ใครที่ต้องเดินทางผ่านดงพญาไฟ ให้เตรียมหม้อดินติดตัวไปด้วย สำหรับใส่กระดูกของตัวเองฝากเพื่อนกลับมาด้วย ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า "ดงพญาเย็น"[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Caves of Lopburi - Caves & Caving in Thailand" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.
  2. "ภูเขาที่สำคัญในประเทศไทย". สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี).
  3. ศรัณย์ บุญประเสริฐ. "ตำนานดงพญาเย็น สู่มรดกโลก". สารคดี.
  4. "จากดงพญาไฟสู่เขาใหญ่ จากปากประตูสู่นรกสู่สถานที่พักผ่อนยอดนิยม".