ทิวเขาเพชรบูรณ์

พิกัด: 16°26′N 101°9.1′E / 16.433°N 101.1517°E / 16.433; 101.1517
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิวเขาเพชรบูรณ์
จุดสูงสุด
ยอดภูทับเบิก[1]
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,794 เมตร (5,886 ฟุต)
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว190 กม. (118 ไมล์) N/S
กว้าง110 กม. (68 ไมล์) E/W
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
แผนที่ภาคอีสาน
ประเทศประเทศไทย
พิกัดเทือกเขา16°26′N 101°9.1′E / 16.433°N 101.1517°E / 16.433; 101.1517
เทือกเขาทิวเขาหลวงพระบาง (ส่วนตะวันตก)
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทหินหินทราย และ แกรนิต

ทิวเขาเพชรบูรณ์ เป็นทิวเขาที่อต่อเนื่องจากทิวเขาหลวงพระบาง ครอบคลุมตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่างลงมาถึงภาคกลางตอนบน มีความยาวรวม 586 กิโลเมตร แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกตั้งแต่ทางตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ผ่านจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ขอนแก่น และชัยภูมิ มีความยาว 236 กิโลเมตรและส่วนที่สองเริ่มจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสักผ่านจังหวัดเลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และลพบุรี มีความยาว 350 กิโลเมตร[2] ยอดเขาและสันเขาที่สำคัญ ได้แก่ ภูสอยดาว ภูเมี่ยง ภูขัด และภูหินร่องกล้า เขาปู่ เขาย่า เขาค้อ เขาผ้าขาว และเขารัง

ลักษณะทางกายภาพเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500–1,571 เมตร ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า จำนวน 10 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติภูเรือ อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าภูหลวง เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าภูค้อ ภูกระแต อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง และอุทยานแห่งชาติเขาค้อ

ลุ่มน้ำสายสำคัญที่เกิดจากพื้นที่ภูมิทัศน์ทิวเขาเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยลุ่มน้ำพุงไหลลงสู่ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำเลยไหลลงสู่แม่น้ำโขง ลุ่มน้ำหมันไหลลงสู่ลุ่มน้ำเหืองไหลลงสู่แม่น้ำโขง ต้นน้ำพองไหลลงสู่แม่น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ต้นน้ำเซิญเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำชี และลุ่มน้ำเข็กไหลลงสู่แม่น้ำน่านทางฝั่งทิศตะวันตก[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Google Earth
  2. "ภูเขาที่สำคัญในประเทศไทย". สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-18. สืบค้นเมื่อ 2023-06-18.
  3. "เทือกเขาเพชรบูรณ์". โครงการ Small Grants (SGP).