ประทวน รมยานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประทวน รมยานนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม – 12 มกราคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470
เสียชีวิต29 มีนาคม พ.ศ. 2539 (69 ปี)
พรรคการเมืองพรรคชาติไทย
คู่สมรสลดา รมยานนท์ (บุตร-ธิดา 3 คน)
ดร.สมเสนาะ รมยานนท์ (บุตร-ธิดา 4 คน)

นายประทวน รมยานนท์ (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2539) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 3 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 1 สมัย และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 3 สมัย

ประวัติ[แก้]

ประทวน รมยานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470[1] เป็นบุตรของพรรณ กับเฟื่อง รมยายนท์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากประเทศฟิลิปปินส์

ประทวน รมยานนท์ ถึงแก่อนิจกรรมในขณะที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 สิริอายุรวม 69 ปี

งานการเมือง[แก้]

ประทวน เคยดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพ ใน พ.ศ. 2500 และ พ.ศ. 2501 รวมถึง สมาชิกสภาจังหวัดพระนคร ในปี พ.ศ. 2511 กับ พ.ศ. 2514 และ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2516 ก่อนที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัด พรรคชาติไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ผู้สมัครของพรรค ที่ได้รับเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว (อีกหนึ่งคน คือ พันเอกประกอบ ประยูรโภคราช)

ต่อมา ประทวนลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2538 รวม 3 สมัย [2]

ประทวน ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 3 สมัย ได้แก่ พ.ศ. 2519 ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2533 ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[3][4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ประทวน รมยานนท์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติย่อ นายประทวน รมยยานนท์
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  7. รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaiscouts