ภูมิธรรม เวชยชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูมิธรรม เวชยชัย
ภูมิธรรม ใน พ.ศ. 2564
รองนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 251 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
อนุทิน ชาญวีรกูล
ดอน ปรมัตถ์วินัย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 251 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีช่วยนภินทร ศรีสรรพางค์
สุชาติ ชมกลิ่น
ก่อนหน้าจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รักษาราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
28 เมษายน พ.ศ. 2567 – 30 เมษายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 2 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าปานปรีย์ พหิทธานุกร
(รัฐมนตรีว่าการ)
ถัดไปมาริษ เสงี่ยมพงษ์
(รัฐมนตรีว่าการ)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 192 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล
ก่อนหน้านิกร จำนง
พิเชษฐ สถิรชวาล
ถัดไปสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(6 ปี 255 วัน)
ก่อนหน้าจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
ถัดไปอนุดิษฐ์ นาครทรรพ
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 325 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ธวัชชัย เวชยชัย

5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
เขตภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (2519–2520)[1]
ประชาธิปัตย์ (2520–2540)
ไทยรักไทย (2541–2550)
เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน)
คู่สมรสอภิญญา เวชยชัย
ลายมือชื่อ

ภูมิธรรม เวชยชัย ป.ช. ป.ม. (เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2496) หรือชื่อเดิม ธวัชชัย ชื่อเล่น อ้วน เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

ภูมิธรรม เวชยชัย เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ที่จังหวัดพระนคร มีชื่อเล่นว่า อ้วน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนทวีธาภิเศก ปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2518 และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2527 และได้ผ่านการศึกษาหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ในปี พ.ศ. 2547

การทำงาน[แก้]

เขาเป็นรองผู้อำนวยการโครงการอาสาสมัคร สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ต่อมาได้หันเหมาทำงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ประจำสำนักประธานบริหารกลุ่มบริษัทในเครือชินวัตร ในระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2541

งานการเมือง[แก้]

เขาเริ่มเข้าสู่งานการเมืองด้วยการเป็นที่ปรึกษาคณะทำงานสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) ในปี พ.ศ. 2544 และเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ประจำ รศ. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) และเป็นรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย กระทั่งได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อปี พ.ศ. 2548[2] ซึ่งในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ได้นำเสนอพระราชกฤษฎีกา ต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ให้ยุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) โดยให้เหตุผลว่า มีปัญหาขาดสภาพคล่อง และมีหนี้สินสะสมกว่า 1,800 ล้านบาท และไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจขนส่งของเอกชน[3][4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 เขาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[6] และได้รับเลือกให้ทำหน้าที่เลขาธิการพรรค ในการประชุมพรรคเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555[7]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 21[8]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 4[9] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 100 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในคณะรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน[10]

ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 เศรษฐาได้มอบหมายให้เขาเป็นประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560[11][12] และในเดือนมกราคมปีถัดมาเขาได้เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567[13]

ต่อมาตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567 ปานปรีย์ พหิทธานุกร ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[14] ส่งผลให้กระทรวงการต่างประเทศไม่มีทั้งรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการ ภูมิธรรมจึงรักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแทน[15]

รางวัลและเกียรติยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รุกสู่"รัฐไทยใหม่"". mgronline.com. 2012-11-03.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  3. "วาระสุดท้ายเสนอยุบรสพ. ปลดพนง.เลหลังรถบรรทุก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  4. แข่งขันกับธุรกิจขนส่งของเอกชนหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
  5. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  6. บ้านเลขที่ 111 ซบอก'เพื่อไทย'แล้ว[ลิงก์เสีย]
  7. 'จารุพงษ์'ผงาดนั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  9. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  10. "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
  11. https://prachatai.com/journal/2023/09/105887
  12. [1]กก.ชุดภูมิธรรมเคาะทำประชามติ 3 ครั้ง รอบแรกใช้คำถามเดียว-ไม่ล็อก สสร. จัดทำรัฐธรรมนูญ
  13. https://www.prachachat.net/politics/news-1474946
  14. "ด่วน "ปานปรีย์ พหิทธานุกร" ลาออกจากรัฐมนตรีต่างประเทศ มีผลวันนี้ 28 เม.ย.67". ฐานเศรษฐกิจ. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. ""ภูมิธรรม" ใหญ่จริง รักษาการ "รมว.ตปท." แทน ปานปรีย์". ฐานเศรษฐกิจ. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2018-08-16.
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
ก่อนหน้า ภูมิธรรม เวชยชัย ถัดไป
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
อนุทิน ชาญวีรกูล
ดอน ปรมัตถ์วินัย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

รองนายกรัฐมนตรี
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 — ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 — ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
นิกร จำนง
พิเชษฐ สถิรชวาล

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(ครม. 55)

(2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 — 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)
สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
(30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)
อนุดิษฐ์ นาครทรรพ