พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
พีระพันธุ์ ใน พ.ศ. 2552
รองนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 251 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
อนุทิน ชาญวีรกูล
ดอน ปรมัตถ์วินัย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 251 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(2 ปี 232 วัน)
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ถัดไปประชา พรหมนอก
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 255 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าดิสทัต โหตระกิตย์
ถัดไปพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2565
(1 ปี 280 วัน)
ก่อนหน้าธนดี หงษ์รัตนอุทัย
(รักษาการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 (65 ปี)
อู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2539–2562)
พลังประชารัฐ (2564–2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565–2567)
คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (2567-ปัจจุบัน)
คู่สมรสสุนงค์ สาลีรัฐวิภาค
ศิษย์เก่าโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลายมือชื่อ

พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา​ 2019

ประวัติ[แก้]

พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนที่ 4 และเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของพลโทณรงค์ สาลีรัฐวิภาค อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์และเจ้ากรมการพลังงานทหาร ผู้ริเริ่มการขุดเจาะน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และผู้ก่อตั้งปั๊มน้ำมันสามทหาร (ปัจจุบันคือ ปตท.) เป็นหลานปู่ของพระยาสาลีรัฐวิภาค (สงวน ไนคีตะเสน) กับ คุณหญิงขนิษฐา สาลีรัฐวิภาค ส่วนมารดา โสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค (นามสกุลเดิม: สุมาวงศ์) อดีตดาวจุฬาฯ คนแรก ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้สุนทราภรณ์แต่งเพลงดาวจุฬาฯและขวัญใจจุฬาฯ เป็นบุตรีพระมนูเวทย์วิมลนาท (มนูเวทย์ สุมาวงศ์) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักร และประธานศาลฎีกา กับคุณหญิงแฉล้ม มนูเวทย์วิมลนาท

ชีวิตครอบครัว พีระพันธุ์สมรสกับ สุนงค์ สาลีรัฐวิภาค (นามสกุลเดิม: โทณวณิก) มีบุตรธิดารวมกันทั้งหมด 4 คน ได้แก่ ชลิตา[1], ภัทร[2] และฝาแฝด ภัทรพร-ภัทรพรรณ สาลีรัฐวิภาค[3]

การศึกษา[แก้]

สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล มอบรางวัล "ศิษย์เก่าดีเด่น" ของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ประจำปี พ.ศ. 2565 (รางวัล John Mary Award) แก่พีระพันธุ์ (เลขประจำตัว ซ.ค.10527 รุ่น SG 46) โดยมีการประกาศผลเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565[4]

การทำงาน[แก้]

พีระพันธุ์ มีประสบการณ์ทำงานเป็นผู้พิพากษาและข้าราชการตุลาการมาก่อน เข้าสู่แวดวงการเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตห้วยขวาง ดินแดง พญาไท ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมทีมกับ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และธารินทร์ นิมมานเหมินท์ บทบาทในสภาฯ ของพีระพันธุ์ เป็นไปในทางการตรวจสอบการทุจริต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริตจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ของกองทัพ เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ป.ป.ช.) ของสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงปี พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2548 มีผลงานสำคัญคือการสอบสวนการทุจริตโครงการก่อสร้างทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง (ทางพิเศษบูรพาวิถี) หรือ "ค่าโง่ทางด่วน 6,200 ล้านบาท" ซึ่งถูกนำไปใช้ในการต่อสู้คดีในชั้นศาลและชนะคดี ทำให้คนไทยไม่ต้องจ่ายค่าโง่พร้อมดอกเบี้ยนับหมื่นล้านบาท

ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 พีระพันธุ์ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานครได้ย้ายไปลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคส่งพันเอกเฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา ลงสมัคร ส.ส.เขต แทน แต่พันเอกเฟื่องวิชชุ์ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 พีระพันธุ์ได้ลงรับสมัครในเขต 3 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท คู่กับ ธนา ชีรวินิจ และ สรรเสริญ สมะลาภา สามารถนำทีมชนะการเลือกตั้งทั้ง 3 คน โดยพีระพันธุ์ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 ของเขต

ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่เป็น อดีตผู้พิพากษาและข้าราชการตุลาการ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเงา[5]

พีระพันธุ์ยังทำหน้าที่เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ประธานคณะอนุกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามเว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณานโยบาย งบประมาณ และประสิทธิภาพกองทัพ รองประธานคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2552 และกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญอื่นๆ อีกหลายคณะ

วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลที่มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี[6] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[7] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 พีระพันธุ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 16 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้ง[8]

ในวันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พีระพันธุ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้มีผลทันทีในวันเดียวกัน ทำให้ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปด้วย ส่งผลให้พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล บัญชีรายชื่อลำดับที่ 24 ซึ่งเป็นบุตรสาวคนโตของพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ได้ขยับขึ้นมาทำหน้าที่แทน[9]

วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 140/2565 แต่งตั้งพีระพันธุ์ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[10] ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 2 วันก่อน (17 ธันวาคม พ.ศ. 2562) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป[11] ก่อนประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563[12]

วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีการประชุมครั้งพิเศษ 10-1/2563 ซึ่งในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติแต่งตั้งให้พีระพันธุ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ[13]

วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 พีระพันธุ์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และวันถัดมา (5 ตุลาคม พ.ศ. 2564) ได้รับการแต่งตั้งจากพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ให้เป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค พร้อมกับสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้น[14]

วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565 พีระพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเตรียมให้คนไปยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐและสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ กับทางพรรคและนายทะเบียนพรรคการเมืองที่ กกต. ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565 เนื่องจากจัดทำโครงสร้างพรรคให้เข้มแข็งเสร็จเรียบร้อยแล้ว[15] จากนั้นวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565 พีระพันธุ์ได้ให้สัมภาษณ์ว่าได้ให้เจ้าหน้าที่ไปยื่นหนังสือลาออกกับทางพรรคพลังประชารัฐกับทาง กกต. เรียบร้อยแล้ว ส่วนเรื่องอนาคตทางการเมืองเมื่อถึงเวลาจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง[16]

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 พีระพันธุ์ได้รับรางวัล "นักการเมืองแห่งปี" จากสยามรัฐออนไลน์ ในฐานะนักการเมืองที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศ จากการพิจารณาคัดเลือกของคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ[17]

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 140/2565 แต่งตั้ง คณะกรรมการอำนวยความเป็นธรรมและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ โดยมี พีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธานกรรมการ เพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนผู้ร้องเรียนและผู้ร้องทุกข์ และการอำนวยความเป็นธรรมให้ประชาชนโดยเร็ว[18]

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พีระพันธุ์ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2565 ของพรรค โดยชูนโยบายการแก้ไขกฎหมายล้าสมัย และสร้างสังคมเท่าเทียม

พีระพันธุ์ เปิดเผยว่าพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นพรรคที่ได้รวบรวมกลุ่มคนทำงาน ที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งคนที่มีประสบการณ์ในการเป็น ส.ส.ทำงานรับใช้พี่น้องประชาชนมาแล้ว ผู้ที่เคยเป็น ส.ส. และคนรุ่นใหม่ที่มีความตั้งใจจะเข้ามาทำงานในฐานะนักการเมือง เพื่อขับเคลื่อนประเทศชาติตามวิสัยทัศน์หลักของพรรค คือการสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย  เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสในการดำรงชีวิตในทุกมิติอย่างเท่าเทียมกัน โดยพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นพรรคการเมืองที่มุ่งเรื่องของการทำงานมากกว่าการเล่นการเมือง และมองเห็นเรื่องของการทำงานเพื่อประเทศชาติประชาชนเป็นสำคัญ[19]

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 324/2565 แต่งตั้ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แทนที่ดิสทัต โหตระกิตย์ ที่ลาออกก่อนหน้านี้ ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันเดียวกัน[20]

ในการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 พีระพันธุ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ และได้รับการเลือกตั้ง[21] แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 พีระพันธุ์ได้ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อความสะดวกในการดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[22]

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 นายพีระพันธุ์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ตามพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในพระราชกิจจานุเบกษาที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2566[23]

ผลงาน[แก้]

ส่วนหนึ่งของผลงานนายพีระพันธุ์ที่ปรากฎในเว็บไซต์ของพรรครวมไทยสร้างชาติ[24]

  • ผลักดันให้มี พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่สัญญาที่ไม่มีโอกาสต่อรองเงื่อนไขสัญญา
  • ผลักดันให้มี พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (“พ.ร.บ.ฮั้วประมูล”) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ชาติ
  • เสนอร่างกฎหมายการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค
  • ตรวจสอบการทุจริตกรณี “ค่าโง่ทางด่วน” เส้นทางบูรพาวิถี เพื่อปกป้องเงินภาษีประชาชนเกือบ 10,000 ล้านบาท
  • ตรวจสอบและรื้อฟื้นคดี “ค่าโง่โฮปเวลล์” เพื่อปกป้องเงินภาษีประชาชนกว่า 25,000 ล้านบาท
  • รื้อฟื้น “กองทุนยุติธรรม” และช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรม
  • อำนวยความเป็นธรรมในฐานะ ประธานคณะกรรมการอำนวยความเป็นธรรมและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ ของสำนักนายกรัฐมนตรี

ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย[แก้]

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ‘พีระพันธุ์’ ได้ใช้ความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ในการสร้างความเป็นธรรมและปกป้องผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง โดยเป็นผู้ยกร่างและผลักดันให้มี พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540  เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่สัญญาที่ไม่มีโอกาสต่อรองเงื่อนไขสัญญา และเป็นผู้ยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เพื่อป้องกันการ “ฮั้วประมูล” ด้วย

นอกจากนี้ ‘พีระพันธุ์’ยังเป็นผู้ยกร่างและเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญายกเลิกอายุความคดีทุจริต ซึ่งส่งผลให้คดีทุจริตไม่มีอายุความอีกต่อไป ทั้งนี้เพื่ออุดช่องว่างไม่ให้ผู้กระทำผิดหลีกเลี่ยงการรับโทษ รวมทั้งเป็นผู้ยกร่าง “กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร” ที่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อ พ.ศ. 2550 และมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน[25]

ในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ  ‘พีระพันธุ์’ ยังคงผลักดันร่างกฎหมายในนามของพรรค ผ่านกลไกของรัฐสภาอย่างต่อเนื่อง อาทิ  ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ที่เขาเป็นผู้ยกร่างและเสนอเข้าสภาฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคจากการคิดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ไม่เป็นธรรม [26] และ ร่าง พ.ร.บ.ประมง เพื่อพลิกฟื้นการทำอาชีพประมง โดยเฉพาะประมงพื้นบ้าน และอุตสาหกรรมประมง ให้กลับมาเป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศอีกครั้ง [27] รวมถึง ร่าง พ.ร.บ. สร้างเสริมสังคมสันติสุข ที่เสนอให้มีการนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมืองเพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้  โดยพรรคมีจุดยืนสำคัญที่จะไม่นิรโทษกรรมผู้ที่ละเมิดกฎหมายอาญา มาตรา 112  ไม่นิรโทษกรรมให้กับผู้ที่ทำการทุจริตคอร์รัปชัน และไม่นิรโทษกรรมให้ผู้ที่กระทำความผิดอาญาอย่างร้ายแรง เช่น ฆ่าผู้อื่น หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่นให้สูญเสียแก่ชีวิต [28]

ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ‘พีระพันธุ์’ ได้ใช้กลไกทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศตามแนวทาง “รื้อ ลด ปลด สร้าง” ที่เริ่มต้นจากการ “รื้อ” โครงสร้างพลังงานทั้งระบบ ด้วยการยกร่างและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อ “ลด”ภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชน พร้อม “ปลด” ล็อคกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคด้านพลังงาน และ “สร้าง” ระบบพลังงานของประเทศขึ้นใหม่ให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้เกิดความมั่นคง เป็นธรรม และยั่งยืนด้านพลังงานของประเทศ และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย[29]

การต่อสู้คดีมหากาพย์ 'ค่าโง่โฮปเวลล์'[แก้]

‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ ถือเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปกป้องเงินภาษีของประชาชนหลายหมื่นล้านบาท จากการนำทีมต่อสู้คดี “ค่าโง่” โฮปเวลล์  หรือ โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปี 2533 แต่มีปัญหาสร้างไม่เสร็จ และถูกเอกชนฟ้องร้องเรียกเสียหายจำนวนมหาศาลจากการยกเลิกสัมปทาน แถมรัฐบาลยังแพ้คดีทั้งในชั้นอนุญาโตตุลาการเมื่อปี 2551 และในชั้นศาลปกครองสูงสุดเมื่อปี 2562  ซึ่งทำให้รัฐบาลมีภาระที่จะต้องนำเงินภาษีไปจ่ายให้กับบริษัทโฮปเวลล์รวม 2.4 หมื่นล้านบาท และเป็นตำนาน ‘ค่าโง่’ ที่อาจทำให้คนไทยต้องเสียเงินค่าภาษีหลายหมื่นล้านบาทกับโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์

‘พีระพันธุ์’ ได้ติดตามศึกษาคดีมหากาพย์โฮปเวลล์อย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2562 หลังจากที่ได้อ่านคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ตัดสินว่าคดีนี้ไม่ขาดอายุความ แต่ก่อนหน้านั้น ศาลปกครองกลางที่เป็นศาลชั้นต้นของศาลปกครองเคยมีคำตัดสินคดีเดียวกันนี้ว่า คดีโฮปเวลล์ขาดอายุความ

หลักกฎหมายเรื่อง “อายุความ” นี้เป็นจุดสนใจให้ ‘พีระพันธุ์’ ทำการสืบค้นเพิ่มเติมและพบว่า ศาลปกครองกลางได้เคยวินิจฉัยบนพื้นฐานของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ ที่บัญญัติไว้ว่า"การนับอายุความ" ให้นับตั้งแต่วันที่รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดี โดยไม่ได้มีบทเฉพาะกาลยกเว้นไว้ว่า คดีนั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเปิดทำการศาลปกครอง แต่ปรากฏว่า ศาลปกครองสูงสุดใช้ “มติของที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด” เป็นหลักในการตัดสินว่า คดีที่เกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการ ให้นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลปกครองเปิดทำการ จึงส่งผลให้คดีโฮปเวลล์ยังไม่ขาดอายุความตามกฎหมาย

อย่างไรก็ดี ‘พีระพันธุ์’ มีความเห็นต่างในเรื่องนี้โดยชี้ว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้ ศาลทุกศาล รวมถึงศาลปกครอง ต้องตัดสินตามกฎหมายเท่านั้น แต่หากเห็นว่ากฎหมายที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมในประเด็นปัญหาสำหรับคดีที่เกิดขึ้นก่อน ก็ต้องไปให้รัฐสภาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว ไม่สามารถใช้ "มติที่ประชุมใหญ่" เป็นหลักในการตัดสินได้เพราะขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญ

จากนั้น ‘พีระพันธุ์’ ได้เข้ามามีบทบาทหลักในการต่อสู้คดีนี้ ตั้งแต่ในชั้นสภาผู้แทนราษฎร  ผู้ตรวจการแผ่นดิน  ศาลรัฐธรรมนูญ จนถึงศาลปกครองสูงสุด ในฐานะหัวหน้าทีมสืบค้นพยานหลักฐานต่างๆ และข้อพิรุธในการทำสัญญาคดีโฮปเวลล์ อีกทั้งยังเป็นผู้ยกร่างคำร้องต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพื่อขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่และขอให้งดการบังคับคดี

ถึงแม้ในเบื้องต้น ศาลปกครองชั้นต้นจะยกคำร้องไม่ให้มีการพิจารณาคดีใหม่ แต่ ‘พีระพันธุ์’ และคณะทำงานได้ขออุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดอีกครั้ง จนในที่สุด ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 ให้พิจารณาคดีโฮปเวลล์ใหม่ และต่อมาในวันที่ 14 มีนาคม 2565 ศาลปกครองกลางก็ได้มีคำสั่งงดการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดคดีโฮปเวลล์ ทำให้กระบวนการบังคับคดีที่เคยให้ภาครัฐต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี รวม 25,711 ล้านบาท ต้องหยุดพักไว้ก่อน จนกว่าการพิจารณาคดีโฮปเวลล์ใหม่จะได้ข้อยุติ

ต่อมา ศาลปกครองกลางได้ดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ และมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย ชดใช้ค่าเสียหายแก่ บริษัทโฮปเวลล์ฯ เนื่องจากการใช้สิทธิเรียกร้องของบริษัทดังกล่าวขาดอายุความตามกฎหมาย ทำให้รัฐบาลไม่ต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปจ่ายค่าโง่หลายหมื่นล้านบาท จากการทำงานอย่างมุ่งมั่นของ ‘พีระพันธุ์’ และทีมงาน ซึ่งยังคงติดตามสะสางคดีนี้ต่อไปในชั้นศาลแพ่ง

เหตุการณ์รัฐประหาร 2549[แก้]

ในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ที่มีการรัฐประหารโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มีทหารกลุ่มหนึ่งได้บุกเข้าไปในบ้านพีระพันธุ์ ด้วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นบ้านของ พลตำรวจตรี พีรพันธุ์ เปรมภูติ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน​ นายตำรวจคนสนิทของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งทำให้ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะต้องโทรศัพท์มาขอโทษด้วยตัวเอง[30]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ชลิตา สาลีรัฐวิภาค มุ่งมั่นสานต่อความอร่อยระดับตำนาน". ไทยรัฐ. 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ภัทร สาลีรัฐวิภาค ทายาทนักการเมืองดัง เลือกรับราชการ ทำงานให้ประเทศชาติ
  3. "ภัทรพรรณ-ภัทรพร สาลีรัฐวิภาค เพราะพอเพียงจึงมีเพียงพอ". ผู้จัดการออนไลน์. 2014-08-31. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "ประกาศผลการพิจารณารายชื่อ "ศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล" ประจำปี 2565 เนื่องในโอกาส ครบรอบ 72 ปี สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล". สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล. 2022-03-26. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24 – โดยทาง เฟซบุ๊ก.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  8. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  9. พีรพันธุ์ ยื่นลาออกสมาชิกประชาธิปัตย์ หลุด ส.ส. ทันที พิมพ์รพี ขยับขึ้นมาแทน
  10. "คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๓๘๐/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)" (PDF). สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24.
  11. สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 17 ธันวาคม 2562
  12. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๘๐/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24.
  13. การบินไทยตั้งบอร์ดใหม่ 4 คน มีผล 25 พฤษภาคม 2563 จาก ไทยพีบีเอส
  14. ""บิ๊กป้อม" เซ็นตั้ง "สมศักดิ์-พีระพันธุ์" เป็นที่ปรึกษาหัวหน้า พปชร. แล้ว". ไทยรัฐ. 2021-10-06. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. ตามคาด 'พีระพันธุ์' ทิ้งพรรคพลังประชารัฐ!
  16. 'พีระพันธุ์' ยื่นลาออก 'พลังประชารัฐ' แล้ว อุบตอบเส้นทางการเมือง
  17. ""พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค" คว้ารางวัล "นักการเมืองแห่งปี" ย้ำเป็นหน้าที่ต้องทำเพื่อชาติบ้านเมือง". สยามรัฐ. 2022-05-06.
  18. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๘๐/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  19. "รวมไทยสร้างชาติ เลือก 'พีระพันธุ์' นั่งหัวหน้าพรรคปัดเป็นพรรคสำรองให้ 'ประยุทธ์'". สำนักข่าวทูเดย์. 2022-08-03. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. "ครม.ตั้ง "พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค" เป็นเลขาธิการนายกฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-12-20. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2023-06-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-06-24. สืบค้นเมื่อ 2023-06-24 – โดยทาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
  22. "พีระพันธุ์ ลาออก ส.ส.รวมไทยสร้างชาติ ขอทำหน้าที่เลขาธิการนายกฯ". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-06-30. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  24. "พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค". พรรครวมไทยสร้างชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-29. สืบค้นเมื่อ 2023-06-29.
  25. "รู้จัก 'พีระพันธุ์'". pirapan.net.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. เอกสารรัฐสภา - ร่าง พ.ร.บ.บัตรเครดิต พ.ศ.....
  27. พรรครวมไทยสร้างชาติ (2024-02-06). ""รวมไทยสร้างชาติ" ดันกฎหมายประมงเข้าสภาฯ สัปดาห์นี้". พรรครวมไทยสร้างชาติ.
  28. พรรครวมไทยสร้างชาติ (2024-01-25). ""รวมไทยสร้างชาติ" ยื่นร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุขต่อรองประธานสภาฯ แล้ว". พรรครวมไทยสร้างชาติ.
  29. รวมผลงานปี 2566, สืบค้นเมื่อ 2024-02-09
  30. หนังสือ ลับลวงพราง ปฏิวัติปราสาททราย โดย วาสนา นาน่วม : สำนักพิมพ์มติชน ISBN 9789740203384
  31. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ถัดไป
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
อนุทิน ชาญวีรกูล
ดอน ปรมัตถ์วินัย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

รองนายกรัฐมนตรีไทย
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ครม. 63)
(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
ดิสทัต โหตระกิตย์
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
ประชา พรหมนอก
ธนดี หงษ์รัตนอุทัย
หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ
(3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 — ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง