สุชาติ ชมกลิ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุชาติ ชมกลิ่น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 9 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
นภินทร ศรีสรรพางค์
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการภูมิธรรม เวชยชัย
ก่อนหน้าสินิตย์ เลิศไกร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(3 ปี 27 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าจุติ ไกรฤกษ์
(รักษาการ)
ถัดไปพิพัฒน์ รัชกิจประการ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 358 วัน)
รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 43 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
วิสุทธิ์ ธรรมเพชร
วิทยา แก้วภราดัย
ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง
ชื่นชอบ คงอุดม
เกชา ศักดิ์สมบูรณ์
ธนกร วังบุญคงชนะ
อนุชา บูรพชัยศรี
จุติ ไกรฤกษ์
โกวิทย์ ธารณา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
เขตที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(2 ปี 159 วัน)
ก่อนหน้าประมวล เอมเปีย
บรรจบ รุ่งโรจน์
มานิตย์ ภาวสุทธิ์
ถัดไปตนเอง
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 8 มกราคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 290 วัน)
ก่อนหน้าตนเอง
ถัดไปวรท ศิริรักษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 (49 ปี)
จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังชล (2554–2561)
พลังประชารัฐ (2561–2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสวิมลจิต อรินทมะพงษ์

สุชาติ ชมกลิ่น (เกิด 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2517) ชื่อเล่น เฮ้ง เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต 1 จำนวน 2 สมัย

ประวัติ[แก้]

สุชาติ ชมกลิ่น เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 เป็นบุตรชายของวิเชียร ชมกลิ่น อาศัยอยู่ที่ ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยเกริก[1] สมรสกับวิมลจิต อรินทมะพงษ์[2] มีบุตรชาย 2 คน

งานการเมือง[แก้]

สุชาติ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เขตอำเภอเมืองชลบุรี ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคพลังชล และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ โดยได้รับเลือกติดต่อกันรวม 2 สมัย

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สุชาติเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[3]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 สุชาติได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นายสุชาติได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการพรรคพลังประชารัฐ[5][6] และเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566 นายสุชาติได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น สส. และวันถัดมาได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคพลังประชารัฐและสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[7]

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สุชาติเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[8]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

สุชาติ ชมกลิ่น ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคพลังชล
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "นายสุชาติ ชมกลิ่น". hris.parliament.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ""ส.ส.เฮ้ง" ชื่อนี้ "ธนาธร" มีหนาว". คมชัดลึกออนไลน์. 2019-07-18.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง หน้า ๒, ๖ สิงหาคม ๒๕๖๓
  4. Bhattarada (2021-06-18). "เปิดรายชื่อ กก.บห. พรรคพลังประชารัฐชุดใหม่ 22 คน". ประชาชาติธุรกิจ.
  5. 'สุชาติ' กราบลา 'บิ๊กป้อม' ลาออกจาก กก.บห. เตรียมซบ รทสช.
  6. 'เฮ้ง' แจงยิบทิ้งพปชร.ไปทำภารกิจสำคัญ อ้าว!เด็กบิ๊กป้อม ประกบแจจดทุกเม็ดพูดอะไร
  7. ""สุชาติ"ลาออกส.ส. คาดเดินตาม"บิ๊กตู่"ซบพรรครวมไทยสร้างชาติพรุ่งนี้". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-01-08.
  8. "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ครม. "เศรษฐา 1/1"". บีบีซีไทย. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕