องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496
ยุบเลิก1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (53 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ต้นสังกัดหน่วยงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ หรือ ร.ส.พ. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในอดีตของไทย ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินกิจการขนส่งสินค้า ให้บริการแก่หน่วยงานราชการ และรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ทั่วประเทศแก่ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะที่ส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้

ประวัติ[แก้]

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496[1] มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร และมีสำนักงานสาขาทั่วประเทศ มีภารกิจหลักในการขนส่งสินค้าให้กับหน่วยราชการ โดยเฉพาะในการขนส่งบางประเภท ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง มีข้อบังคับกำหนดว่า การขนส่งนั้นต้องดำเนินการโดยองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เท่านั้น ได้แก่

การยุบเลิก ร.ส.พ.[แก้]

ในช่วงต้นรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงการบริหารงาน เพิ่มประสิทธิภาพ ร.ส.พ. เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจโลจิสติกส์ มีการเสนอให้ ร.ส.พ. ย้ายสำนักงานไปอยู่ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ต่อมานายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา ต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ให้ยุบเลิก ร.ส.พ. โดยให้เหตุผลว่ามีปัญหาขาดสภาพคล่อง และมีหนี้สินสะสมกว่า 1,800 ล้านบาท และไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจขนส่งของเอกชน[2][3] และได้มีพระราชกฤษฎีกายุบเลิกฯ เป็นผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549[4] รวมระยะที่องค์การฯ ดำเนินการมา 53 ปี

ภายหลังการยุบเลิก ร.ส.พ. ได้มีการเปิดประมูลให้บริษัทเอกชนเข้ามาทำหน้าที่ขนส่งสินค้าแทน[5] โดยการกล่าวหาว่า การยุบเลิก ร.ส.พ. มีวัตถุประสงค์เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจขนส่งที่สนับสนุนรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ[6] สำหรับที่ดินใจกลางเมืองบริเวณถนนรางน้ำที่องค์การ ร.ส.พ. ย้ายออกไป ได้เปิดให้บริษัทคิง พาวเวอร์ จำกัด เช่าที่ดินสร้างเป็นศูนย์การค้าคิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์

รายชื่อประธานกรรมการ[แก้]

  1. พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (พ.ศ. 2496-2499)
  2. พลเอก หลวงสถิตยุทธการ (สถิต สถิตยุทธการ) (พ.ศ. 2499-2504)
  3. พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (พ.ศ. 2504-2508)
  4. พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) (พ.ศ. 2508-2513)
  5. หลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) (พ.ศ. 2513-2518)
  6. นาวาเอก เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ (พ.ศ. 2518-2521)
  7. นายบุญซ้อน บุญศุขะ (พ.ศ. 2521-2524)
  8. นายสุนธร คงศักดิ์ (พ.ศ. 2524-2527)
  9. นาวาตรี ทวี มนต์ไตรเวทย์ (พ.ศ. 2527-2530)
  10. พลเอก ปิ่น ธรรมศรี (พ.ศ. 2530-2533)
  11. พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ (พ.ศ. 2533-2536)
  12. พลเรือเอก ประเจตน์ ศิริเดช (พ.ศ. 2536-2539)
  13. พลอากาศเอก สนั่น ทั่วทิพย์ (พ.ศ. 2539-2543)
  14. พลเอก มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ (พ.ศ. 2543-2545)
  15. พลเรือเอก สามภพ อัมระปาล (พ.ศ. 2545-2547)
  16. นายศรีสุข จันทรางศุ (พ.ศ. 2547-2549)

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ. 2496
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
  3. http://www.lawyerthai.com/news/view.php?topic=1189 คัดลอกมาจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
  4. พระราชกฤษฎีกายุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ. 2549
  5. http://www.learning.pyo.nu.ac.th/art_pol/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=27[ลิงก์เสีย]
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]