ยุทธการที่หับป๋า (ค.ศ. 253)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่หับป๋า
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสามก๊ก
วันที่ป. เมษายน – สิงหาคม ค.ศ. 253
สถานที่
นครเหอเฝย์ มณฑลอานฮุย ประเทศจีน
ผล วุยก๊กชนะ ง่อก๊กล่าถอย
คู่สงคราม
วุยก๊ก ง่อก๊ก
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เตียวเต๊ก
สุมาหู
จูกัดเก๊ก
กำลัง
3,000 นายในซินเสีย
กำลังเสริม 200,000 นาย[1]
200,000
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ไม่ทราบ
ยุทธการที่หับป๋า
อักษรจีนตัวเต็ม合肥之戰
อักษรจีนตัวย่อ合肥之战
ยุทธการที่หับป๋าซินเสีย
อักษรจีนตัวเต็ม合肥新城之戰
อักษรจีนตัวย่อ合肥新城之战

ยุทธการที่หับป๋า (จีน: 合肥之戰) หรือ ยุทธการที่หับป๋าซินเสีย (จีน: 合肥新城之戰) เป็นการรบระหว่างรัฐวุยก๊กและง่อก๊กตั้งแต่ราวเดือนเมษายนถึงสิงหาคม ค.ศ. 253 ในยุคสามก๊กของจีน

ยุทธการ[แก้]

ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 253 จูกัดเก๊กผู้สำเร็จราชการแห่งง่อก๊กกลับจากยุทธการที่ตังหินมายังเกียนเงียบ (建業 เจี้ยนเย่; ปัจจุบันคือนครหนานจิง มณฑลเจียงซู) ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 253 จูกัดเก๊กนำทหารกล้า 200,000 นายเข้าโจมตีวุยก๊กทางเหนือโดยเพิกเฉยต่อคำทักท้วงของขุนนางหลายคน ในเดือนพฤษภาคมหรือหรือต้นเดือนมิถุนายน จูกัดเก๊กนำทัพมาถึงฝั่งใต้ของแม่น้ำห้วย (淮河 หฺวายเหอ) และเริ่มโจมตีซินเสีย (新城 ซินเฉิง; แปลว่า "เมือง/ป้อมปราการแห่งใหม่") ที่หับป๋า (合肥 เหอเฝย์) ในเดือนถัดมา ทัพของจูกัดเก๊กปิดล้อมซินเสียและเปิดการโจมตีป้อมปราการอย่างดุเดือด เวลานั้นซินเสียมีผู้รักษาคือเตียวเต๊กขุนพลวุยก๊ก[2] และผู้ใต้บังคับบัญชาคือหลิว เจิ่ง (劉整) และเจิ้ง เซี่ยง (鄭像)[3] กองกำลังวุยก๊กป้องกันซินเสียด้วยกำลังพลเพียง 3,000 นายแต่สามารถตรึงทัพของจูกัดเก๊กได้นานกว่าหนึ่งเดือน ขณะเดียวกันก็สร้างความเสียหายแก่ข้าศึกอย่างหนัก

เตียวเต๊กบอกกับจูกัดเก๊กว่า "บัดนี้ข้าไม่คิดต่อสู้อีก แต่ตามกฎหมายของวุย หากข้าถูกโจมตีเป็นเวลามากกว่า 100 วันและกำลังเสริมยังมาไม่ถึง แม้ว่าข้าจะยอมจำนน แต่ครอบครัวของข้าก็ได้รับการละเว้นโทษ นับแต่ข้าเริ่มรบต้านทานก็เป็นเวลาเก้าสิบกว่าวัน ในเมืองเดิมมีคนมากกว่า 4,000 คน บัดนี้มากกว่าครึ่งตายในการรบ เมื่อเมืองล่ม หากใครไม่ต้องการยอมจำนน ข้าจะพูดอธิบายถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น วันรุ่งขึ้นข้าจะส่งสำมะโนครัว ขอเชิญท่านรับตราประจำตำแหน่งของข้าไปก่อนเพื่อเป็นหลักประกัน"[4] หลังพูดจบ เตียวเต๊กก็โยนตราประจำตำแหน่งของตนไปให้จูกัดเก๊ก จูกัดเก๊กไม่รับตราไว้เพราะเชื่อว่าเตียวเต๊กจะรักษาคำพูด

คืนนั้น เตียวเต๊กสั่งให้ทหารรื้อบ้านและรั้ว ใช้ไม้มาเสริมส่วนที่เสียหายของกำแพงป้อมปราการ วันรุ่งขึ้นเตียวเต๊กประกาศกับข้าศึกว่า "เราจะสู้ตาย"[5] และปฏิเสธที่จะยอมจำนนอยากจะหนักแน่น ทหารง่อก๊กโกรธมากและเข้าโจมตีป้อมปราการแต่ไม่สามารถทำลายกำแพงลงได้

เวลานั้นอากาศร้อนจัด ทหารง่อก๊กเริ่มเหนื่อยล้า เกิดโรคระบาดขึ้นและคร่าชีวิตทหารง่อก๊กจำนวนมาก และทำให้ทหารง่อก๊กมากกว่าครึ่งล้มป่วย จูกัดเก๊กเริ่มหมดความอดทนและระคายอารมณ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ทำให้เกิดไม่พอใจอย่างมากในหมู่ทหารง่อก๊ก จูกัดเก๊กยังปลดจูอี้ที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาออกจากตำแหน่ง ต่อมาสุมาหูขุนพลวุยก๊กนำกำลังพล 200,000 นายมาเสริมช่วยเตียวเต๊กที่ซินเสียและเอาชนะทหารง่อก๊กที่อ่อนล้า ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 12 สิงหาคมและ 9 กันยายน ค.ศ. 253 จูกัดเก๊กไม่มีทางเลือกอื่น จำต้องถอยทัพและยกเลิกการล้อมซินเสีย

ผลสืบเนื่อง[แก้]

ในวัฒนธรรมประชานิยม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ซฺวี่จือจื้อทงเจี้ยนฉางเปียน เล่มที่ 4.
  2. อรรถาธิบายของเผย์ ซงจือในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  3. จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  4. (今我無心復戰也。然魏法,被攻過百日而救不至者,雖降,家不坐也。自受敵以來,已九十餘日矣。此城中本有四千餘人,而戰死者已過半,城雖陷,尚有半人不欲降,我當還為相語之,條名別善惡,明日早送名,且持我印綬去以為信。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  5. (我但有斗死耳!) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.

บรรณานุกรม[แก้]