รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2500

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2500
วันที่3 สิงหาคม พ.ศ. 2500
สถานที่ตั้งสวนลุมพินี อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร
รางวัลมากที่สุดชั่วฟ้าดินสลาย (3)
รางวัลตุ๊กตาทอง · ครั้งที่ 2 →

การประกวดภาพยนตร์ ชิงรางวัลตุ๊กตาทอง และสำเภาทอง ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2500 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี จัดโดยหอการค้ากรุงเทพ โดยมีนายสงบ สวนสิริ เป็นประธานกรรมการ

เนื่องจากการประกวดครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีแรก ทางผู้จัดงานจึงไม่ได้จำกัดปีของภาพยนตร์ ทำให้มีภาพยนตร์ไทยทั้งเก่าและใหม่เข้าประกวดปะปนกัน ทั้งสิ้น 52 เรื่อง มีภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในระบบ 35 มม.เข้าประกวด 4 เรื่อง คือ ชั่วฟ้าดินสลาย (พ.ศ. 2498) (หนุมานภาพยนตร์) จอมไพร (พ.ศ. 2500) (วิจิตรเกษมภาพยนตร์) ถ่านไฟเก่า (พ.ศ. 2500) และ สองพี่น้อง (พ.ศ. 2501) (อัศวินภาพยนตร์) และภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในระบบ 16 มม. จำนวน 48 เรื่อง

ผลการประกวดภาพยนตร์มีการประกาศอย่างเป็นทางการในงานบอลรูม ณ สวนลุมพินีสถาน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2500 มีการชุมนุมดาราภาพยนตร์ นักแสดงและผู้ประกอบอุตสาหกรรมภาพยนตร์ มีการลีลาศชิงรางวัล แต่ปรากฏว่าผลการประกวดภาพยนตร์ไทยในครั้งนี้ กลับมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ และนิตยสารก่อนวันงาน

ประวัติ[แก้]

การประกวดภาพยนตร์ชิงรางวัลตุ๊กตาทอง มีแนวคิดเริ่มแรกมาจากบทความของนายสงบ สวนศิริ ในนิตยสารตุ๊กตาทอง เมื่อ พ.ศ. 2496 [1] ที่จะจัดการประกวดภาพยนตร์ในปีนั้น แต่แล้วก็ไม่ได้จัด

การประกวดภาพยนตร์ เกิดขึ้นได้ในที่สุด ในปี พ.ศ. 2500 โดยการสนับสนุนของ หอการค้ากรุงเทพ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ "งานสัปดาห์แห่งการแสดงอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม" ของหอการค้ากรุงเทพฯ ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2500 มีการแต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินงาน มีนายสงบ สวนสิริ เป็นประธาน และคณะกรรมการตัดสินภาพยนตร์ ประกอบด้วย นักประพันธ์ นักวิจารณ์ นักเซ็นเซอร์ นักหนังสือพิมพ์ และผู้ที่ดูภาพยนตร์เป็นประจำ ประกอบด้วย พ.ท.จง แปลกบรรจง, พ.ต.ต.ปรีชา จงเจริญ, พ.ต.ต.ประสัตถ์ ปันยารชุน, แก้ว อัจฉริยกุล, ศักดิ์เกษม หุตาคม, ระบิล บุนนาค, ลมูล อติพยัคฆ์, กาญจนา ศยามานนท์, และเถาวัลย์ มงคล [2]

ผู้ได้รับรางวัล[แก้]

รางวัลตุ๊กตาทอง (Golden Doll)[แก้]

สาขา ผู้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์เรื่อง
ผู้แสดงนำฝ่ายชาย ลือชัย นฤนาท เล็บครุฑ (พ.ศ. 2500)
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิง วิไลวรรณ วัฒนพานิช สาวเครือฟ้า (พ.ศ. 2496)
ผู้แสดงประกอบฝ่ายชาย เจิม ปั้นอำไพ เศรษฐีอนาถา (พ.ศ. 2499)
ผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิง พงษ์ลดา พิมลพรรณ นักสืบพราน ตอน จำเลยไม่พูด (พ.ศ. 2499)

รางวัลสำเภาทอง (Golden Junk)[แก้]

สาขา ผู้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์เรื่อง
กำกับการแสดงยอดเยี่ยม วสันต์ สุนทรปักษิณ ทางเปลี่ยว (พ.ศ. 2498)
บทประพันธ์ยอดเยี่ยม เรียมเอง ชั่วฟ้าดินสลาย (พ.ศ. 2498)
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประจิต จุลละพันธ์ สุภาพบุรุษเสือไทย (พ.ศ. 2492)
การกำกับฝ่ายศิลป์ (16 มม.) เฉลิม พันธุ์นิล นเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2500)
การกำกับฝ่ายศิลป์ (35 มม.) อุไร ศิริสมบัติ จอมไพร (พ.ศ. 2500)
การลำดับภาพ ส. อาสนจินดา มงกุฎเดี่ยว (พ.ศ. 2500)
การพากย์ (16 มม.) เสน่ห์ โกมารชุน - จุรี โอศิริ โบตั๋น (พ.ศ. 2498)
บันทึกเสียง ปง อัศวินิกุล ชั่วฟ้าดินสลาย
การถ่ายภาพ (16 มม.) ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์ เล็บครุฑ
การถ่ายภาพ (35 มม.) รัตน์ เปสตันยี ชั่วฟ้าดินสลาย
รางวัลพิเศษในฐานะเป็นผู้นำในการสร้างภาพยนตร์ (16 มม.) หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เศรษฐีอนาถา (เอส.อาร์.ฟิล์ม) เศรษฐีอนาถา (พ.ศ. 2499)

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-01-07.
  2. สูจิบัตร งานประกวดภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม ประจำปี 2502