อองซอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อองซอง (หวาง ฉ่าง)
王昶
เสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง)
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน ค.ศ. 258 (258) – กรกฎาคมหรือสิงหาคม ค.ศ. 259 (259)
กษัตริย์โจมอ
ก่อนหน้าหลู ยฺวี่
ถัดไปอองก๋วน
ขุนพลทหารม้าทะยาน
(驃騎將軍 เพี่ยวฉีเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
14 มิถุนายน ค.ศ. 255 (255) – 26 กันยายน ค.ศ. 258 (258)
กษัตริย์โจมอ
ก่อนหน้าซุนจู
มหาขุนพลโจมตีภาคใต้
(征南大將軍 เจิงหนานต้าเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
16 พฤษภาคม ค.ศ. 251 (251) – 14 มิถุนายน ค.ศ. 255 (255)
กษัตริย์โจฮอง / โจมอ
ขุนพลโจมตีภาคใต้
(征南將軍 เจิงหนานเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ป. คริสต์ทศวรรษ 240 – 16 พฤษภาคม ค.ศ. 251 (251)
กษัตริย์โจฮอง
ข้าหลวงมณฑลชีจิ๋ว (徐州刺史 สฺวีโจวชื่อฉื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ป. คริสต์ทศวรรษ 240 – ป. คริสต์ทศวรรษ 240
กษัตริย์โจฮอง
ขุนพลเชิดชูความดุดัน
(揚烈將軍 หยางเลี่ยเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 227–?
กษัตริย์โจยอย
ข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋ว
(兗州刺史 เหยี่ยนโจวชื่อฉื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
?–ค.ศ. 226
กษัตริย์โจผี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครไท่หยวน มณฑลชานซี
เสียชีวิตกรกฎาคมหรือสิงหาคม ค.ศ. 259[a]
บุตร
  • อองหุย
  • หวาง เชิน
  • หวาง หลุน
  • หวาง จ้าน
บุพการี
  • หวาง เจ๋อ (บิดา)
ญาติดูตระกูลอองแห่งไท่หยวน
อาชีพขุนพล, ขุนนาง
ชื่อรองเหวินชู (文舒)
สมัญญานามมู่โหว (穆侯)
บรรดาศักดิ์จิงหลิวโหว (京陵侯)

อองซอง[2] (เสียชีวิต กรกฎาคมหรือสิงหาคม ค.ศ. 259)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง ฉ่าง (จีน: 王昶; พินอิน: Wáng Chǎng) ชื่อรอง เหวินชู (จีน: 文舒; พินอิน: Wénshū) เป็นขุนพลและขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน

ประวัติช่วงต้น[แก้]

อองซองเป็นชาวอำเภอจิ้นหยาง (晉陽) ในเมืองไท่หยวน (太原 ไท่-ยฺเหวียน) ซึ่งปัจจุบันคือนครไท่หยวน มณฑลชานซี[3] อองซองเป็นชาวเมืองเดียวกันกับหวาง หลิง (王淩) ทั้งอองซองและหวาง หลิงต่างก็มีชื่อเสียงตั้งแต่อยู่ในวัยเยาว์[4] อองซองขึ้นมาเป็นอาจารย์ของโจผีตั้งแต่เมื่อโจผียังเป็นเจ้าชาย หลังจากโจผีขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งวุยก๊ก อองซองได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางทหารม้ามหาดเล็ก (散騎侍郎 ซ่านฉีชื่อหลาง), เจ้าหน้าที่นิคมการเกษตรแห่งลกเอี๋ยง (洛陽典農 ลั่วหยางเตี่ยนหนง) และข้าหลวงมณฑลของมณฑลกุนจิ๋ว (兗州刺史 เหยี่ยนโจวชื่อฉื่อ)[5]

หลังจากโจผีสวรรคตในปี ค.ศ. 226 โจยอยผู้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิแห่งวุยก๊กองค์ใหม่ทรงเลื่อนยศให้อองซองเป็นขุนพลเชิดชูความดุดัน (揚烈將軍 หยางเลี่ยเจียงจฺวิน) และพระราชทานบรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว)[6] เมื่อครั้งอองซองรับราชการเป็นข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋วนั้น อองซองยังคงกังวลเรื่องราชการในราชสำนัก อองซองเห็นว่าระบบการปกครองในวุยก๊กซึ่งสืบทอดมาจากราชวงศ์จิ๋นและราชวงศ์ฮั่นนั้นเข้มงวดและมีข้อบกพร่องมากเกินไป อองซองตัดสินใจร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ แล้วถวายฎีกา 2 ฉบับคือ วิพากษ์เรื่องการปกครอง (治論 จื้อหลุน) และตำราการทหาร (兵書 ปิงชู) ไปยังราชสำนักวุยก๊ก[7]

ยุทธการที่รบกับง่อก๊ก[แก้]

ในปี ค.ศ. 236 เสนาบดีกลาโหมสุมาอี้ทูลเสนอชื่ออองชองว่าเป็นผู้มีความสามารถแก่โจยอยจักรพรรดิลำดับที่ 2 ของวุยก๊ก อองซองได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าหลวงมณฑลของมณฑลชีจิ๋วและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นอู่กวานถิงโหว (武觀亭侯) ภายหลังได้ัรับการแต่งตั้งเป็นขุนพลโจมตีภาคใต้ (征南將軍 เจิงหนานเจียงจฺวิน) และรักษาการผู้ดูแลราชการทหารในมณฑลเกงจิ๋วและอิจิ๋ว[8]

อองซองเห็นว่าฐานทัพที่อ้วนเสีย (宛城 หว่านเฉิง) ห่างไกลมากเกินไปจากซงหยง (襄陽 เซียงหยาง) ที่เป็นเมืองสำคัญบนชายแดนทางใต้ของวุยก๊ก นอกจากนี้ค่ายทหารในบริเวณนั้นค่อนข้างกระจัดกระจายและทัพเรือก็อยู่ห่างออกไปถึงเซฺวียนฉือ (宣池) หากทัพข้าศึกของง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กเข้าโจมตี ทหารที่อยู่ประจำตามจุดต่าง ๆ ดังกล่าวจะไม่สามารถให้การสนับสนุนการรบได้ทันท่วงที ดังนั้นจึงอองซองจึงให้ย้ายฐานทัพมาตั้งที่ซินเอี๋ย (新野 ซินเหย่) สั่งมีทัพเรือฝึกซ้อมรบ และส่งเสริมการเกษตรเพื่อสะสมเสบียงอาหาร[9]

ในปี ค.ศ. 250 ความวุ่นวายทางการเมืองในง่อก๊กเพิ่งสิ้นสุดลง จู จฺวี้ (朱據) ขุนพลงง่อก๊กเพิ่งถูกจักรพรรดิซุนกวนปลดจากตำแหน่งและถูกบังคับให้ฆ่าตัวตาย อองซองเห็นว่าเป็นเวลาเหมาะที่จะโจมตีง่อก๊ก[10] จึงสั่งให้จิวท่าย (州泰 โจว ไท่) เข้าโจมตีอำเภออู (), ชื่อกุย (柹歸) และห้องเหลง (房陵 ฝางหลิง) ให้อองกี๋ (王基 หวาง จี) โจมตีอิเหลง (夷陵 อี๋หลิง) ส่วนตัวอองซองนำกองกำลังด้วยตนเองเข้าโจมตีกังเหลง (江陵 เจียงหลิง) กองกำลังของอองซองใช้ซีกไม้ไผ่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำแยงซี[11] แล้วเอาชนะชือ จี (施績) ขุนพลง่อก๊ก สังหารจงหลี เม่า (鍾離茂) และสฺวี่ หมิน (許旻) นำชัยชนะกลับมาสู่วุยก๊กพร้อมของที่ริบมาจากการทำศึกจำนวนมาก[12] จากความดีความชอบนี้อองซองจึงได้เลื่อนยศเป็นมหาขุนพลโจมตีภาคใต้ (征南大將軍 เจิงหนานต้าเจียงจฺวิน) และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากโหวระดับหมู่บ้านเป็นโหวระดับอำเภอชื่อบรรดาศักดิ์ว่า "จิงหลิงโหว" (京陵侯)[13]

ในปี ค.ศ. 252 อองซองเสนอแผนในการโจมตีง่อก๊กอีกครั้ง ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น จูกัดเอี๋ยน, อ้าวจุ๋น และบู๊ขิวเขียมก็เสนอแผนของแต่ละคนเช่นกัน สุมาสูผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊กยอมรับข้อเสนอเหล่านั้นและสั่งให้เข้าโจมตีง่อก๊กจากสามทิศทาง อองซองได้รับมอบหมายให้โจมตีเมืองลำกุ๋น (南郡 หนานจฺวิ้น) แต่เนื่องจากอ้าวจุ๋นและจูกัดเอี๋ยนพ่ายแพ้ต่อจูกัดเก๊กขุนพลวุยก๊ก อองซองจึงจำต้องล่าถอย[14]

การปราบปรามกบฏ[แก้]

ในปี ค.ศ. 255 บู๊ขิวเขียมและบุนขิมขุนพลวุยก๊กเริ่มก่อกบฏในฉิวชุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย) อองซองได้รับการเลื่อนยศเป็นขุนพลทหารม้าทะยาน (驃騎將軍 เพี่ยวฉีเจียงจฺวิน) และได้รับมอบหมายให้ส่งกองกำลังไปช่วยปราบปรามกบฏ[15]

ในปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กอีกครั้งเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุน กบฏครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากทัพง่อก๊ก อองซองนำกองกำลังไปกดดันทัพง่อก๊กที่กังเหลงที่นำโดยชือ จีและเฉฺวียน ซี (全熙) และป้องกันทัพง่อก๊กไม่ให้ไปช่วยจูกัดเอี๋ยน[16]

ในปี ค.ศ. 258 หลังกบฏจูกัดเอี๋ยนถูกปราบปราม อองซองได้เลื่อนขั้นเป็นเสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) และได้เป็นบำเหน็จเป็นศักดินาเพิ่มเติม 1,000 ครัวเรือน[17]

อองซองเสียชีวิตในปี ค.ศ. 259 และได้รับสมัญญานามว่า "มู่โหว" (穆侯)[18]

ครอบครัว[แก้]

  • บิดา: หวาง เจ๋อ (王澤) รับราชการเป็นเจ้าเมืองไตกุ๋นในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
  • บุตรชาย:
    • อองหุย (王渾 หวาง หุน) รับราชการเป็นขุนพลในวุยก๊กและภายหลังดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีโยธาธิการของราชวงศ์จิ้น เข้าร่วมในการพิชิตง่อก๊กของจิ้นในปี ค.ศ. 280
    • หวาง เชิน (王深) รับราชการเป็นข้าหลวงมณฑลของมณฑลกิจิ๋ว
    • หวาง หลุน (王淪) รับราชการเป็นที่ปรึกษาของมหาขุนพล
    • หวาง จ้าน (王湛) รับราชการเป็นเจ้าเมืองของเมืองยีหลำ
  • หลานชาย:
    • หวาง ช่าง (王尚) บุตรชายคนโตของอองหุย มีบรรดาศักดิ์โหว เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังเยาว์
    • หวาง จี้ (王濟) บุตรชายคนที่ 2 ของอองหุย รับราชการเป็นขุนนางมหาดเล็กในยุคราชวงศ์จิ้น
    • หวาง เฉิง (王澄) บุตรชายคนที่ 3 ของอองหุย มีบรรดาศักดิ์โหว รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ในยุคราชวงศ์จิ้น
    • หวาง เวิ่น (王汶) บุตรชายคนที่ 4 ของอองหุย รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ในยุคราชวงศ์จิ้น
    • หวาง เฉิง (王承) บุตรชายของหวาง จ้าน รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ภายในของเมืองตองไฮ
  • เหลนชาย:
    • หวาง จั้ว (王卓) บุตรชายคนโตของหวาง จี้ รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่
    • หวาง ยฺวี่ (王聿) บุตรชายคนที่ 2 ของหวาง จี้ สมรสกับเจ้าหญิงของราชวงศ์จิ้น มีบรรดาศักดิ์เป็นหมินหยางโหว
    • หวาง ชู่ (王述) บุตรชายของหวาง เฉิง รับราชการเป็นราชเลขาธิการและขุนพลพิทักษ์ในยุคราชวงศ์จิ้น
  • ลื่อชาย:
    • หวาง ถ่านจือ (王坦之) บุตรชายของหวาง ชู่ รับราชการเป็นขุนพลราชองครักษ์และข้าหลวงมณฑลชีจิ๋วและกุนจิ๋วในยุคราชวงศ์จิ้น

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 พระราชประวัติโจมอในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าอองซองเสียชีวิตในเดือน 6 ของศักราชกำลอปีที่ 4 ในรัชสมัยของโจมอ[1] เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคมถึง 5 สิงหาคม ค.ศ. 259 ในปฏิทินกริโกเรียน

อ้างอิง[แก้]

  1. ([甘露四年]夏六月,司空王昶薨。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  2. ("สุมาสูเห็นชอบด้วยจึงใช้ให้อองซองเปนนายทหารใหญ่คุมทหารสิบหมื่น ให้บู๊ขิวเขียมคุมทหารสิบหมื่น ให้สุมาเจียวผู้น้องเปนแม่ทัพหลวงยกไปตีเมืองกังตั๋ง เมื่อยกทัพครั้งนั้นเดือนสิบสอง ครั้นยกกองทัพไปถึงแดนเมืองกังตั๋งแล้ว สุมาเจียวจึงให้หานายทัพนายกองทั้งปวงมาปรึกษาว่า หัวเมืองกังตั๋งทั้งปวงเห็นมั่นคงนักแต่เมืองตังหิน ด้วยหน้าเมืองนั้นมีป้อมใหญ่กระหนาบอยู่ทั้งซ้ายขวา ซึ่งจะหักเข้าไปนั้นยากนัก เราจำจะจัดแจงให้ดี ว่าแล้วสั่งให้อองซองบูขิวเขียมสองนายให้คุมทหารคนละสามหมื่นเปนปีกซ้ายขวา") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 5, 2024.
  3. (王昶字文舒,太原晉陽人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  4. (少與同郡王淩俱知名。淩年長,昶兄事之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  5. (文帝踐阼,徙散騎侍郎,爲洛陽典農。時都畿樹木成林,昶斫開荒萊,勤勸百姓,墾田特多。遷兖州刺史。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  6. (明帝即位,加揚烈將軍,賜爵關內侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  7. (昶雖在外任,心存朝廷,以爲魏承秦、漢之弊,法制苛碎,不大釐改國典以準先王之風,而望治化復興,不可得也。乃著治論,略依古制而合於時務者二十餘篇,又著兵書十餘篇,言奇正之用,青龍中奏之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  8. (正始中,轉在徐州,封武觀亭侯,遷征南將軍,假節都督荊、豫諸軍事。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  9. (昶以爲國有常衆,戰無常勝;地有常險,守無常勢。今屯宛,去襄陽三百餘里,諸軍散屯,船在宣池,有急不足相赴,乃表徙治新野,習水軍於二州,廣農墾殖,倉糓盈積。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  10. (二年,昶奏:「孫權流放良臣,適庶分爭,可乘釁而制吳、蜀;白帝、夷陵之間,黔、巫、秭歸、房陵皆在江北,民夷與新城郡接,可襲取也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  11. (乃遣新城太守州泰襲巫、秭歸、房陵,荊州刺史王基詣夷陵,昶詣江陵,兩岸引竹絙爲橋,渡水擊之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  12. (賊奔南岸,鑿七道並來攻。於是昶使積弩同時俱發,賊大將施績夜遁入江陵城,追斬數百級。昶欲引致平地與合戰,乃先遣五軍案大道發還,使賊望見以喜之,以所獲鎧馬甲首,馳環城以怒之,設伏兵以待之。績果追軍,與戰,克之。績遁走,斬其將鍾離茂、許旻,收其甲首旗鼓珍寶器仗,振旅而還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  13. (王基、州泰皆有功。於是遷昶征南大將軍、儀同三司,進封京陵侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  14. (冬十一月,詔征南大將軍王昶、征東將軍胡遵、鎮南將軍毌丘儉等征吳。十二月,吳大將軍諸葛恪拒戰,大破衆軍於東關。不利而還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  15. (毌丘儉、文欽作亂,引兵拒儉、欽有功,封二子亭侯、關內侯,進位驃騎將軍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  16. (諸葛誕反,昶據夾石以逼江陵,持施績、全熈使不得東。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  17. (增邑千戶,并前四千七百戶,遷司空,持節、都督如故。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
  18. (甘露四年薨,謚曰穆侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.

บรรณานุกรม[แก้]